หม้อแปลงไฟฟ้า (Voltage Converter) นับเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี เพราะการเดินทางไปต่างประเทศในแต่ละครั้ง เราต่างก็พกพาเครื่องใช้ไฟฟ้าหลากหลายชนิดติดตัวไปด้วยหรือแม้แต่อุปกรณ์เสริมความงามของสาว ๆ เช่น ที่หนีบผม ที่ม้วนผม เป็นต้น ซึ่งเจ้าหม้อแปลงไฟฟ้านี้เองก็คือคำตอบของการนำอุปกรณ์เหล่านี้ไปใช้ได้ทุกที่บนโลก นอกจากนี้บางคนยังชอบซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าจากต่างประเทศที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่ตรงกับเมืองไทยกลับมาใช้ ทำให้ต้องมีหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นตัวกลางที่ทำให้เราสามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นได้
ซึ่งบางครั้งสำหรับผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญในการเดินทางไปต่างประเทศ อาจมีคำถามว่าเราสามารถเลือกหม้อแปลงแบบไหนก็ได้หรือ? ทั้ง ๆ ที่แต่ละประเทศต่างก็มีระบบการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกัน ทำให้ในวันนี้ทางทีมงานจึงได้นำเอาข้อมูลการเลือกหม้อแปลงไฟฟ้าที่น่าสนใจมาเป็นผู้ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อ และยิ่งไปกว่านั้นยังมี 7 อันดับหม้อแปลงไฟฟ้ายอดฮิตติดกระเป๋านักเดินทาง จากผู้ผลิตชื่อดังด้านอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่สามารถเลือกซื้อได้สะดวกผ่านช่องทางออนไลน์มาฝากกันอีกด้วย จะเหมาะกับประเทศที่เราจะไปแค่ไหนนั้นไปดูกันเลย
เพื่อทำให้การท่องเที่ยวต่างประเทศราบรื่น การเลือกหม้อแปลงไฟฟ้าก็ควรจะเลือกอย่างถูกต้องให้เหมาะสมกับประเทศที่เราจะไป จะมีหลักการพิจารณาอย่างไร ไปดูกันต่อด้านล่างเลยค่ะ
สำหรับการขั้นต้นคือการตรวจสอบแรงดันของกระแสไฟฟ้า (Voltage) หรือที่เรากันว่าโวลต์ (Volts (V)) ให้ครอบคลุมการใช้งานของแต่ละประเทศให้ได้มากที่สุดหรือตรงกับประเทศที่เราจะไปที่สุด เนื่องมาจากแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในไทยคือ 220V ซึ่งคล้ายกับประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย เช่น จีน ฮ่องกง ฟิลิปลินส์ รวมถึงทวีปยุโรปที่อยู่ระหว่าง 220V-240V ส่วนในทวีปอเมริกาพบได้ทั้ง 100V-127V และ 220V-240V นอกจากนี้ในบางประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ในแต่ละภูมิภาคอาจมีแรงดันไฟฟ้าที่แตกต่างกันได้ ดังนั้นอย่างลืมตรวจสอบจุดนี้ให้ละเอียดนะคะ
หากแต่เรานำไปใช้ในประเทศญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ที่มีแรงดันไฟฟ้า 110V เครื่องใช้ไฟฟ้าก็อาจมีประสิทธิภาพลดลง เช่น ไดร์เป่าผมของบ้านเราที่ต้องการกระแส 220V แต่เมื่อใช้ที่ญี่ปุ่นก็จะต้องใช้เวลาทำความร้อนที่นานกว่าปกติ หรือในทางกลับกันการนำไปใช้ในประเทศที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงเกินกว่า 220V หรือเกินกว่าที่อุปกรณ์จะรับได้ ก็อาจทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นพังเสียหายหรือใช้งานไม่ได้กันเลยทีเดียว
ดังนั้นการเลือกใช้หม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อช่วยปรับแรงดันก็เป็นทางออกที่ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถสังเกตได้จากฉลากที่แสดงกำลังขาเข้า (Input/IP) และกำลังขาออก (Output/OP) ตัวอย่างเช่น หากคุณซื้อที่หนีบผมจากประเทศญี่ปุ่นกลับประเทศไทย คุณต้องเลือกหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งเขียนว่า "IP 220V-240V/OP : AC100V" ซึ่งหมายความว่ากระแสไฟฟ้าเข้า 220V-240V จากเต้าเสียบของไทยจะถูกแปลงเป็นแรงดัน 100V เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่คุณซื้อจากประเทศญี่ปุ่นได้ เป็นต้น และโดยส่วนใหญ่ค่า IP ที่พบได้ในหม้อแปลงไฟฟ้าทั่วไปก็คือ 110V-130V และ 220V-240V ซึ่งจะครอบคลุมการใช้งานอย่างกว้าง ๆ และใช้ได้ในประเทศส่วนใหญ่นั่นเอง
ต่อไปคือการสังเกตกำลังไฟฟ้าที่หม้อแปลงเหล่านั้นสามารถจ่ายได้ โดยจำเป็นจะต้องมีค่ามากกว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เรานำไปใช้งาน และสามารถสังเกตกำลังไฟฟ้าได้บนอุปกรณ์ ซึ่งมีทั้งหน่วยวัตต์ (Watt/W) หรือโวลต์แอมป์ (Voltamps/VA) เนื่องจาก 1W = 1VA ทำให้ทั้ง 2 หน่วยสามารถทดแทนกันได้
ตัวอย่างเช่น หากเราต้องการนำมีดโกนหนวดไฟฟ้าไปใช้งานในต่างประเทศก็ต้องตรวจสอบว่าอุปกรณ์นี้กินกำลังไฟเท่าใด เช่นปกติใช้พลังงานทั่วไปคือ 10W กรณีนี้ก็ควรเลือกหม้อแปลงที่จ่ายกำลังไฟได้มากกว่า 10W หรือหม้อหุงข้าว 100V 850W ก็ควรจะใช้หม้อแปลงขนาด 1000W เป็นต้น ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดการชำรุดหรือไฟไหม้เสียหายได้
นอกจากนี้อุปกรณ์ทำความร้อนเช่น เครื่องอบลมร้อนฮาโลเจนและอุปกรณ์ที่มีมอเตอร์ในตัวอย่างพัดลมไฟฟ้า ต้องใช้หม้อแปลงที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 3 เท่า และหากจะต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นเป็นเวลานานกว่า 30 นาที การเลือกหม้อแปลงที่มีความจุ 1.25 เท่าของพลังงานที่จะต้องใช้ จึงเป็นอีกทางเลือกที่แนะนำ
โดยทั่วไปหม้อแปลงไฟฟ้านั้นสามารถแบ่งได้หลากหลายประเภท แต่มี 2 ประเภทสำคัญที่นิยมพกพาไปใช้ในระหว่างการเดินทางคือ ประเภทหม้อแปลงและประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบการใช้งาน
หม้อแปลงกำลัง (Power Transformer) คือรูปแบบที่ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างครอบคลุมที่สุด สามารถรองรับการใช้งานอุปกรณ์ได้เกือบทุกชนิดโดยเฉพาะ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กล้องดิจิทัล ซึ่งตัวหม้อแปลงมีค่ากำลังไฟฟ้าที่ใช้งานได้สูงบวกกับมีแรงดันที่มีสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน ทำให้สามารถใช้งานหลายอุปกรณ์พร้อมกันได้นานต่อเนื่อง
ทั้งนี้หม้อแปลงชนิดนี้มีข้อเสียในเรื่องของน้ำหนักและขนาดที่ค่อนข้างใหญ่กว่าหม้อแปลงชนิดอื่น รวมถึงลักษณะที่รองรับกำลังไฟและต้องใช้พลังงานจำนวนมากอาจส่งผลให้หม้อแปลงมีความร้อนสะสม ดังนั้นการใช้งานจึงควรเป็นไปอย่างระมัดระวังและควรมีช่วงเวลาที่อุปกรณ์ได้พักการทำงานด้วย
แต่หากต้องใช้อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานความร้อนสูงหรือมีมอเตอร์ในตัว แนะนำให้เลือกใช้หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transformer) ซึ่งหม้อแปลงประเภทนี้แม้ว่าจะมีความจุกำลังสูงแต่ก็ได้รับการออกแบบมาให้มีขนาดเล็กสะดวกต่อการพกพา
อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ในปัจจุบันเช่น โน้ตบุ๊ก ก็มีคุณสมบัติที่ควบคุมอุณหภูมิในตัวเองได้ ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่ช่วยบ่งบอกว่าอาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้การสังเกตว่าการเชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านั้นเข้ากับหม้อแปลงสามารถรองรับกันได้หรือไม่? ก็เป็นวิธีหลีกเลี่ยงอันตรายและความเสียหายที่เกิดจากกรณีที่ไม่สามารถใช่ร่วมกันได้นั่นเอง
และถึงแม้ว่าเราจะมีหม้อแปลงแรงดันพร้อมแต่กลับไม่สามารถเสียบใช้งานในประเทศนั้น ๆ ได้ ก็คงเป็นเรื่องที่ทำให้หงุดหงิดใจไม่น้อยทีเดียว ดังนั้นอีกหนึ่งการเลือกที่สำคัญ ก็คือการเลือกหัวแปลงปลั๊กไฟ (Universal Adapter) ที่สามารถสลับโหมดรูปร่างให้สอดคล้องกับเต้ารับที่มีในแต่ละประเทศได้
ซึ่งปลั๊กที่มีใช้งานทั่วโลกตามที่องค์กรกำหนดมาตรฐานปลั๊กหรือ IEC ได้ทำรายละเอียดไว้นั้นมีถึง 14 ชนิด เรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษตั้งแต่ A-N 1โดย Type C จัดเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมทั่วโลกมากที่สุด อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้แทน Type E, F, J, K, N ได้อีกด้วย
แน่นอนว่าก่อนการเดินทางนั้นควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าประเทศที่เราเดินทางไป ใช้ปลั๊กชนิดไหนกันบ้าง แต่ตามปกติแล้วหัวแปลงปลั๊กไฟสามารถหาซื้อแบบแยกชึ้นกับหม้อแปลงได้และมีให้เลือกหลากหลายมาก แต่ในขณะเดียวกันหม้อแปลงบางรุ่นที่สามารถเปลี่ยนชนิดหัวปลั๊กได้ในตัว (Dual Voltage) ก็ยังคงมีวางจำหน่ายให้เลือกซื้อตามความต้องการด้วยเช่นกัน
เมื่อเลือกชนิดหม้อแปลงกันไปแล้ว ส่วนต่อไปคือการเลือกจากฟังก์ชันเสริมที่ให้มาพร้อมอุปกรณ์ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในระหว่างการใช้งานของเราได้ดีทีเดียว
เมื่อไปค้างที่โรงแรม บางแห่งอาจมีจำนวนเต้าเสียบไม่เพียงพอ หากมีความจำเป็นจะต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ามากกว่า 2 ชนิดขึ้นไปพร้อมกัน แนะนำให้เลือกหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีช่องสำหรับเสียบปลั๊กหรือเต้ารับตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป ซึ่งโดยปกติแล้วสามารถหาซื้อได้ตามร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป อย่างไรก็ดีเมื่ออุปกรณ์เหล่านี้มีคุณสมบัติที่ใช้งานได้หลากหลายขึ้น ก็มีแนวโน้มที่ราคาจะสูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ต้องการชาร์จสมาร์ทโฟนหรือใช้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อด้วยพอร์ตแบบ USB ก็ยังคงมีหม้อแปลงที่เสริมพอร์ตดังกล่าวไว้ให้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อใช้งานได้ง่ายในขั้นตอนเดียว โดยไม่ต้องซื้อปลั๊กหรือพอร์ตเสริมแยกนั่นเอง
โรงแรมในต่างประเทศบางครั้งมีการติดตั้งเต้ารับในบริเวณที่ยากต่อการใช้งาน เช่น ด้านหลังเตียง มุมห้องหรือโซนที่ใกล้กับประตู เป็นต้น จุดนี้เองจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ควรเลือกหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีความยาวของสายไฟเป็นพิเศษ เพราะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้
แต่หากหม้อแปลงไฟฟ้าของเรามีสายไฟที่สั้นกว่าหรือบางรุ่นไม่มีสายไฟมาให้ ก็สามารถเลือกซื้อปลั๊กพ่วงที่มีวางจำหน่ายตามร้านค้าทั่วไปมากพ่วงต่อเพื่อแก้ปัญหาได้
และแล้วก็ถึงคิวของ 7 อับดับหม้อแปลงไฟฟ้า อุปกรณ์เพื่อการเดินทางที่เรียกได้ว่าครบครันตอบโจทย์สุด ๆ โดยในแต่ละอันดับจะพกพาความโดดเด่นอะไรมาครองใจผู้ใช้กันบ้างนั้น ไปเริ่มกันเลย
5,081 บาท
ประเภท | หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ |
---|---|
แรงดันไฟฟ้า IP/OP | 220V/110V |
กำลังไฟ (W) | 200 |
พอร์ตเสริม | USB 4 ช่อง |
ขนาด (mm) | 158 x 81 x 41 |
น้ำหนัก (g) | 592 |
ความยาวสายไฟ (m) | 1.5 |
ประเภทปลั๊กแปลง | A , C , G , I |
1,633 บาท
ประเภท | หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ |
---|---|
แรงดันไฟฟ้า IP/OP | 220V-240V/110V-120V |
กำลังไฟ (W) | 200 |
พอร์ตเสริม | USB 4 ช่อง |
ขนาด (mm) | 158 x 78 x 35 |
น้ำหนัก (g) | 544 |
ความยาวสายไฟ (m) | 1.5 |
ประเภทปลั๊กแปลง | A , C , D , G , M |
690 บาท
ประเภท | หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ |
---|---|
แรงดันไฟฟ้า IP/OP | 110V-120V/220V-240V |
กำลังไฟ (W) | 200 |
พอร์ตเสริม | - |
ขนาด (mm) | 100 x 75 x 60 |
น้ำหนัก (g) | 1,138 |
ความยาวสายไฟ (m) | 1.2 |
ประเภทปลั๊กแปลง | A, C |
411 บาท
ประเภท | หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ |
---|---|
แรงดันไฟฟ้า IP/OP | 220V/110V |
กำลังไฟ (W) | 200 |
พอร์ตเสริม | - |
ขนาด (mm) | 88 x 67 x 52 |
น้ำหนัก (g) | 620 |
ความยาวสายไฟ (m) | - |
ประเภทปลั๊กแปลง | A , C , E |
250 บาท
ประเภท | หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ |
---|---|
แรงดันไฟฟ้า IP/OP | 110V-120V/220V-240V , 220V-240V/110V-120V |
กำลังไฟ (W) | 100 |
พอร์ตเสริม | - |
ขนาด (mm) | 90 x 53 x 42 |
น้ำหนัก (g) | 400 |
ความยาวสายไฟ (m) | - |
ประเภทปลั๊กแปลง | A , B , C , E , M |
300 บาท
ประเภท | หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ |
---|---|
แรงดันไฟฟ้า IP/OP | 220V/110V |
กำลังไฟ (W) | 100 |
พอร์ตเสริม | - |
ขนาด (mm) | 60 x 60 x 75 |
น้ำหนัก (g) | 600 |
ความยาวสายไฟ (m) | - |
ประเภทปลั๊กแปลง | A |
2,622 บาท
ประเภท | หม้อแปลงกำลัง |
---|---|
แรงดันไฟฟ้า IP/OP | 110V-120V/220V-240V , 220V-240V/110V-120V |
กำลังไฟ (W) | 1000 |
พอร์ตเสริม | - |
ขนาด (mm) | 190 x 160 x 130 |
น้ำหนัก (g) | 3,831 g |
ความยาวสายไฟ (m) | - |
ประเภทปลั๊กแปลง | A, B, C, E, M |
รูปสินค้า | 1 ![]() | 2 ![]() Henry | 3 ![]() PENGTENG | 4 ![]() YHDDZ | 5 ![]() No Brand | 6 ![]() BESTEK | 7 ![]() |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสินค้า | Step Up Down Transformer ST-1000W | หม้อแปลง แปลงไฟ 220-110V/100V | Transformer Converter PT-S12 | YDH200W EU Plug Compact หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า | HX-206 AC-AC หม้อแปลงไฟ | Universal Travel Adapter 220V to 110V Voltage Converter | Odoga Voltage Converter 220V to 110V Travel Adapter |
คุณสมบัติ | หม้อแปลงกำลังกระแสสลับ สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน | หม้อแปลงขนาดกะทัดรัด ทนความร้อนสูง ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก | หม้อแปลงขนาดเล็ก พกอันเดียว เที่ยวได้รอบโลก | หม้อแปลงน้ำหนักเบา พกพาสะดวก ผ่านการรับรองคุณภาพ RoHs | หม้อแปลงสำหรับประเทศที่มีไฟ 100V-120V รองรับเฉพาะหัวปลั๊ก Type A และ C | หม้อแปลงรองรับกำลังไฟสูงสุด 200W ใช้งานหลายได้อุปกรณ์ในเครื่องเดียว | ใช้งานหลายอุปกรณ์ได้ในเครื่องเดียว ครอบคลุม 150 ประเทศทั่วโลก |
ราคา | 2,622 บาท | 300 บาท | 250 บาท | 411 บาท | 690 บาท | 1,633 บาท | 5,081 บาท |
ประเภท | หม้อแปลงกำลัง | หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ | หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ | หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ | หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ | หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ | หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ |
แรงดันไฟฟ้า IP/OP | 110V-120V/220V-240V , 220V-240V/110V-120V | 220V/110V | 110V-120V/220V-240V , 220V-240V/110V-120V | 220V/110V | 110V-120V/220V-240V | 220V-240V/110V-120V | 220V/110V |
กำลังไฟ (W) | 1000 | 100 | 100 | 200 | 200 | 200 | 200 |
พอร์ตเสริม | - | - | - | - | - | USB 4 ช่อง | USB 4 ช่อง |
ขนาด (mm) | 190 x 160 x 130 | 60 x 60 x 75 | 90 x 53 x 42 | 88 x 67 x 52 | 100 x 75 x 60 | 158 x 78 x 35 | 158 x 81 x 41 |
น้ำหนัก (g) | 3,831 g | 600 | 400 | 620 | 1,138 | 544 | 592 |
ความยาวสายไฟ (m) | - | - | - | - | 1.2 | 1.5 | 1.5 |
ประเภทปลั๊กแปลง | A, B, C, E, M | A | A , B , C , E , M | A , C , E | A, C | A , C , D , G , M | A , C , G , I |
ลิงค์สินค้า |
แต่รู้หรือไม่ว่า ในบางกรณีการใช้หม้อแปลงไฟฟ้าอาจไม่มีความจำเป็นเสมอไป เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันอย่างโน้ตบุ๊ก หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ มีความสามารถในการแปลงแรงดันได้ในตัวอยู่แล้ว และยังสามารถปรับตัวรองรับแรงดันไฟฟ้าได้ในหลากหลายประเทศทั่วโลก ทำให้การพกพาเฉพาะหัวแปลงปลั๊กไฟก็ถือว่าเพียงพอแล้ว
ซึ่งจะเห็นได้ว่าหัวแปลงปลั๊กไฟก็มีความสามารถในการรองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แปลงแรงดันในตัวได้ตั้งแต่ 100V-240V ดังนั้นแล้วหากเรามีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่รองรับแรงดันแปรผันได้ การเลือกหัวแปลงปลั๊กไฟที่เหมาะสมและรองรับอุปกรณ์เหล่านั้น ก็สามารถทดแทนและช่วยลดน้ำหนักสัมภาระระหว่างเดินทางได้
หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างมีความสำคัญอย่างยิ่งกับผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าตัวสินค้ามีการพัฒนาให้มีฟังก์ชันเสริมต่าง ๆ เพื่อช่วยให้การใช้สะดวกและง่ายดายมากยิ่งขึ้น แน่นอนวิธีการเลือกดังกล่าวก็จะช่วยให้เราแยกแยะประเภทและตามหาอุปกรณ์ที่ต้องการได้ง่ายขึ้นตามไปด้วย
แต่ด้วยความที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า แน่นอนว่าผลกระทบจากความเสียหายของอุปกรณ์เหล่านี้ค่อนข้างร้ายแรงและเป็นอันตรายต่อผู้ใช้พอสมควร ดังนั้นแล้วการเลือกหม้อแปลงไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นจากผู้ผลิตที่เราไว้ใจหรือคุ้นเคยในคุณภาพ ก็เป็นความมั่นใจในตัวสินค้าได้ดีไม่น้อย นอกจากนี้การเลือกสินค้าโดยการอ่านฉลากอย่างถี่ถ้วนและมุ่งเน้นไปที่การรับรองมาตรฐาน ก็คือหนึ่งในการการันตีความปลอดภัยตลอดระยะเวลาการใช้งานของเราได้ด้วยนั่นเอง
ของใช้ในบ้าน
เครื่องใช้ไฟฟ้า, PC, กล้อง
เครื่องสำอาง, สกินแคร์
อาหาร, เครื่องดื่ม
เครื่องใช้ในครัว
แฟชั่น
รองเท้า
นาฬิกา, เครื่องประดับ
เด็ก
เฟอร์นิเจอร์
งานอดิเรก
กิจกรรมกลางแจ้ง
DIY, อุปกรณ์
กีฬา
สัตว์เลี้ยง
หนังสือ, CDs, DVDs
เกม
รถยนต์, รถจักรยานยนต์
ของขวัญ
อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน, รีโนเวท
สมาร์ทโฟน, มือถือ
เครือข่ายมือถือ
การลงทุน
เครดิตการ์ด, การกู้ยืม
ประกัน
เพลง
แอปพลิเคชัน