ส้มตำเป็นอาหารประจำถิ่นของภาคอีสานที่ไม่ว่าคนภาคไหน ๆ ก็ติดอกติดใจนิยมรับประทานกัน ทั้งยังเป็นเมนูที่โด่งดังไปไกลยังต่างประเทศ และแน่นอนว่าเมื่อพูดถึงส้มตำแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ น้ำปลาร้า ซึ่งช่วยเสริมรสชาติอาหารให้มีความเข้มข้น อร่อยกลมกล่อมที่เรียกกันว่าเป็นรสอูมามิ พร้อมทั้งกลิ่นที่เย้ายวน เรียกน้ำลาย น้ำปลาร้านอกจากจะใช้ในส้มตำแล้ว ยังสามารถนำมาประกอบอาหารชนิดอื่น ๆ เช่น ต้ม แกง หรือยำ เพิ่มความฟินจนต้องแย่งกันซดน้ำเลยทีเดียว
ยี่ห้อน้ำปลาร้าในท้องตลาดมีมากมาย บรรดาคนดังก็ต่างมีน้ำปลาร้าเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลาร้าของพิมรี่พาย ไมค์ หม่ำ สุนารี อีสานพาสวบ อีกทั้งยี่ห้ออื่น ๆ อย่างแม่บุญล้ำ นางฟ้า แม่เหรียญ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปลาร้าเพื่อสุขภาพอย่างน้ำปลาร้าคีโต เป็นต้น วันนี้เรามีวิธีการเลือกซื้อน้ำปลาร้าพร้อมรีวิว 10 อันดับ น้ำปลาร้า รสอร่อยที่ขายดียี่ห้อต่าง ๆ ให้ไปลิ้มลองกัน
ปลาร้า คือ ปลาที่ถูกนำมาถนอมอาหารด้วยวิธีการหมักที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีวิธีทำคือ นำปลามาขอดเกล็ด ควักไส้ออก ล้างทำความสะอาดอย่างดี แล้วนำมาหมักกับเกลือและข้าวคั่วหรือรำข้าว ก่อนนำไปเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท ซึ่งในกระบวนการหมักนั้น แบคทีเรียในปลาจะย่อยสลายแป้งในข้าว จนเกิดกรดแลกติก ส่งผลให้สภาวะกรด-ด่างภายในไหหมักลดลง จากนั้นย่อยสลายโปรตีนในเนื้อปลาให้กลายเป็นกรดอะมิโนทำให้เนื้อปลามีความอ่อนนุ่ม อีกทั้งความเค็มของเกลือช่วยฆ่าแบคทีเรีย เราจึงสามารถเก็บปลาร้าไว้ได้นานและรับประทานได้อย่างปลอดภัย
ปลาที่นิยมนำมาทำเป็นปลาร้าส่วนใหญ่จะเป็นปลาน้ำจืดหาง่าย เช่น ปลากระดี่ ปลาซิว ปลาช่อน ปลานิล เป็นต้น ยิ่งปลามีขนาดใหญ่ก็จะใช้ระยะเวลาในการหมักนานขึ้น สีและกลิ่นที่ได้ก็จะมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ ในน้ำปลาร้าที่หมักได้ที่แล้ว ยังมีวิตามิน โปรตีน แคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ถือเป็นแหล่งสารอาหารสำคัญชั้นดี นิยมใช้ในเมนูส้มตำ แกงอ่อม เป็นต้น
หลังจากที่เราได้ทราบกันแล้วว่าปลาร้าคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร ต่อไปมาดูกันค่ะว่า วิธีการเลือกน้ำปลาร้าให้เหมาะกับเมนูอาหารของเราต้องเลือกจากอะไรบ้าง
ปลาร้าสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ปลาร้าหอม ปลาร้านัว และปลาร้าโหน่ง โดยแต่ละประเภทก็มีสี กลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกัน
ปลาร้าหอมเป็นปลาร้าที่ทำมาจากปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาช่อน ปลาดุก หรือปลานิล โดยนำมาหมักกับเกลือในอัตราส่วนที่เข้มข้น คือ ปลา 4 ส่วนต่อเกลือ 2 ส่วน จากนั้นเติมข้าวคั่วหรือรำข้าว เพื่อใช้เป็นอาหารของจุลินทรีย์ลงไปเล็กน้อย แล้วหมักทิ้งไว้นาน 6 - 10 เดือนขึ้นไป ปลาร้าที่ได้จะมีสีน้ำตาลแดง พร้อมกลิ่นหอมอ่อน ๆ ไม่รุนแรงเหมือนชนิดอื่น อีกทั้งมีส่วนเนื้อมาก จึงนิยมนำมาประกอบอาหารประเภท ปลาร้าทอด ปลาร้าสับ หรือหลนปลาร้า มีรสอร่อยทานง่าย เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบกลิ่นแบบรุนแรงหรือนักชิมมือใหม่ที่อยากจะลองเริ่มรับประทาน
ปลาร้านัวหรือที่เรียกว่าปลาร้าต่วง นิยมใช้ปลาขนาดเล็กถึงปานกลาง ตัวไม่ใหญ่มาก เช่น ปลาหมอ ปลาสลิด หรือปลากระดี่ มาหมักกับเกลือและข้าวคั่วหรือรำข้าวในอัตราส่วน 4 : 1 : 1 ซึ่งใช้เกลือน้อยกว่าปลาร้าหอมและมีเวลาในการหมักสั้นประมาณ 4 - 6 เดือน โดยปลาร้าที่ได้จะมีสีน้ำตาลเข้ม กลิ่นแรง เนื้อรสกลมกล่อม มักนำมาปรุงอาหารจำพวกแกงอ่อมหรือตำน้ำพริกแจ่ว ช่วยเสริมรสชาติอูมามิและกลิ่นของอาหารให้มีมิติและเอกลักษณ์ น่ารับประทานมากขึ้น
ปลาร้าโหน่งนิยมใช้ปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาซิว ปลาสร้อย หรือปลาขาวนา โดยใช้ปลา 4 ส่วน ต่อเกลือ 1 ส่วน และผสมรำข้าวอีก 1 ส่วน หมักไว้นาน 1 ปีขึ้นไป ปลาร้าที่ได้จะมีสีน้ำตาลคล้ำ กลิ่นของปลาร้าโหน่งจะรุนแรง ติดจมูก เนื้อปลามีความอ่อนนิ่มอีกทั้งยังมีน้ำปลาร้ามาก โดยน้ำปลาร้านี้นิยมนำมาปรุงส้มตำ อาหารรสจัด และทำน้ำจิ้มเพื่อรับประทานกับผลไม้รสเปรี้ยวอย่าง มะม่วง มะยม เพื่อลดกลิ่นแรงของปลาร้าโหน่งและเพิ่มนัวให้แซ่บมากยิ่งขึ้น เป็นรสชาติที่แฟน ๆ ปลาร้าที่น้ำลายสอไปตาม ๆ กัน
น้ำปลาร้าที่วางจำหน่ายอยู่ทั่วไปโดยส่วนใหญ่จะเป็นแบบปรุงรส มีส่วนผสมหลักคือ น้ำปลาร้า เกลือ และน้ำตาล โดยอัตราส่วนของน้ำปลาร้าที่อร่อยกำลังดี คือ 80 - 90% เหมาะสำหรับใช้ปรุงอาหารที่ต้องการน้ำขลุกขลิกเช่น ยำหรือส้มตำ แต่หากต้องการนำไปใส่ต้มหรือแกงที่เน้นการชูรสชาติ ควรเลือกแบบสูตรเข้มข้นมากกว่า 90% ขึ้นไป แต่ทั้งนี้ ระดับกลิ่นและรสของปลาร้านั้นถือเป็นความชอบเฉพาะบุคคล
นอกจากพิจารณาส่วนผสมหลักแล้ว ควรตรวจสอบดูส่วนผสมพิเศษเพิ่มเติมด้วย เพราะบางยี่ห้อก็มีการใส่ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น สับปะรด น้ำกระเทียมดอง กะปิ ทำให้มีสีและกลิ่นเข้มข้น ซึ่งส่วนผสมพิเศษเหล่านี้จะช่วยเสริมให้น้ำปลาร้าแต่ละยี่ห้อมีความอร่อยคนละแบบ ด้วยเหตุนี้ ก่อนซื้อควรพิจารณาดูว่ามีส่วนผสมเหล่านี้หรือไม่ เพื่อให้ได้ปลาร้าที่อร่อยถูกใจที่สุด
การพาสเจอร์ไรซ์ (Pasteurization) คือการฆ่าเชื้อถนอมอาหาร โดยใช้ความร้อนต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส ภายในระยะเวลาที่กำหนด ก่อนลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็วและนำไปบรรจุในภาชนะปลอดเชื้อทันที ถึงแม้ปลาร้าจะผ่านกระบวนการหมักซึ่งเป็นกระบวนการที่ฆ่าแบคทีเรียแล้ว แต่หากในกระบวนการผลิตหรือการบรรจุไม่มีความสะอาดมากเพียงพอก็อาจเกิดการปนเปื้อน ดังนั้น เราควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแบบพาสเจอร์ไรซ์หรือน้ำปลาร้าต้มสุกเพื่อความปลอดภัย อีกทั้งปลาร้าที่ผ่านการต้มสุกจะมีกลิ่นอ่อนลง ช่วยทำให้รับประทานได้ง่ายมากขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มหัดรับประทานปลาร้า
น้ำปลาร้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักดองซึ่งมีปริมาณของโซเดียมจากเกลือสูง หากรับประทานบ่อยในปริมาณมาก อาจส่งผลเสียกับสุขภาพและกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคร้ายแรงอย่างความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ นอกจากนี้ บางยี่ห้ออาจใส่น้ำตาลหรือสารปรุงแต่งอื่น ๆ เพื่อให้มีรสชาติที่กลมกล่อมมากขึ้น หากมีความกังวลหรือต้องการป้องกันตัวเองจากโรคร้าย ก็ควรเลือกน้ำปลาร้าทางเลือกที่ลดปริมาณโซเดียมหรือมองหาน้ำปลาร้าที่ไม่ใส่น้ำตาลและสารปรุงแต่งอื่น ๆ อย่าง น้ำปลาร้าคีโตหรือน้ำปลาร้าที่ใช้เกลือหิมาลัย ที่ยังคงรสชาติแซ่บนัวไว้ได้ครบและเป็นมิตรกับสุขภาพของเรา
หากยังลังเลเพราะไม่แน่ใจรสชาติว่ายี่ห้อไหนจะอร่อย หรืออยากลองรสชาติน้ำปลาร้ายี่ห้อใหม่ ๆ ลองเลือกน้ำปลาร้ายี่ห้อดังที่อร่อยจนต้องบอกต่ออย่าง น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ น้ำปลาร้าไมค์ และน้ำปลาร้าแม่อิพิม
น้ำปลาร้าตราแม่บุญล้ำเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ปรุงรสของบริษัท เพชรดำฟู้ดส์ ให้รสชาติที่อร่อยเป็นที่ติดอกติดใจของใครหลาย ๆ คน จะปรุงเมนูไหนก็ง่าย ทั้งยังสะอาดและปลอดภัย เพราะโรงงานได้มาตรฐานในการผลิตทั้ง GMP, HACCP เหมาะทั้งการประกอบอาหารภายในบ้านและในร้านอาหาร นอกจากนี้แล้ว ยี่ห้อแม่บุญล้ำยังมีให้เลือกใช้อีกหลายสูตร ทั้งสูตรต้นตำรับ สูตรหอมกลิ่นปลาร้าโหน่งที่ให้ความเข้มข้นได้มากกว่าสูตรอื่น ๆ และสูตรส้มตำยอดนิยม
น้ำปลาร้าแซ่บไมค์ของไมค์-ภิรมย์พร นักร้องดังที่ใคร ๆ ต่างก็รู้จัก ความอร่อยของแซ่บไมค์อยู่ที่ความนัวและรับประทานง่าย ทั้งยังมีให้เลือกถึง 2 สูตร ทั้งสูตรส้มตำ ที่ยังคงความอร่อย แซ่บ ครบรสได้เป็นอย่างดี มีความเข้มข้น เหมาะกับการปรุงส้มตำเป็นที่สุด รวมไปถึงยำต่าง ๆ และอีกสูตรคือแซ่บทุกเมนู ฉลากสีน้ำตาล ที่ให้ความเค็มได้แทนน้ำปลาแต่มีรสชาติอื่น ๆ ที่ช่วยให้รสชาติอาหารกลมกล่อมได้มากขึ้น เหมาะกับการใส่ในแกง น้ำพริก รับประทานกับขนมจีน
ในเวลานี้ไม่มีใครไม่รู้จักแม่ค้าออนไลน์ผู้โด่งดัง พิมรี่พาย และน้ำปลาร้าแม่อิพิมเป็นสิ่งหนึ่งที่สายแซ่บนัวไม่ควรพลาด เพราะให้รสชาติที่อร่อย แซ่บ ตัวเนื้อน้ำปลาร้ามีความข้นแต่ไม่มากเกินไป มีรสชาติเค็มที่เด่นและกลิ่นหอมของปลาร้าเต็ม ๆ แต่เมื่อผสมในเมนูอาหารแล้วรับประทานได้ง่าย ยิ่งใส่ในยำหรือส้มตำก็ยิ่งเหมาะมากขึ้น ส่วนในเรื่องของความสะอาดนั้นเรียกได้ว่าหายห่วง เพราะผ่านการปรุงแบบต้มสุก จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยแน่นอน
ต่อไปก็ถึงเวลามาตามหาน้ำปลาร้าอร่อย ๆ ไปปรุงอาหารมื้อพิเศษกันแล้ว จะมียี่ห้อไหนที่อร่อย โดนใจกันบ้าง รสชาติและกลิ่นแตกต่างกันอย่างไร ตามไปดูกันเลยค่ะ
69 บาท
ปริมาณ | 200 ml |
---|---|
ส่วนผสมพิเศษ | เกลือหิมาลัย |
ผ่านการฆ่าเชื้อ | ✓ |
ไม่ใส่วัตถุกันเสีย | ✓ |
100 บาท
ปริมาณ | 350 ml x 3 ขวด |
---|---|
ส่วนผสมพิเศษ | กะปิ |
ผ่านการฆ่าเชื้อ | ✓ |
ไม่ใส่วัตถุกันเสีย | ✓ |
35 บาท
ปริมาณ | 350 ml |
---|---|
ส่วนผสมพิเศษ | ปลากระดี่ |
ผ่านการฆ่าเชื้อ | ✓ |
ไม่ใส่วัตถุกันเสีย | ✓ |
119 บาท
ปริมาณ | 300 ml |
---|---|
ส่วนผสมพิเศษ | เกลือหิมาลัย สตีเวีย |
ผ่านการฆ่าเชื้อ | ✓ |
ไม่ใส่วัตถุกันเสีย | ✓ |
35 บาท
ปริมาณ | 350 ml |
---|---|
ส่วนผสมพิเศษ | กะปิ น้ำกระเทียมดอง |
ผ่านการฆ่าเชื้อ | ✓ |
ไม่ใส่วัตถุกันเสีย | ✓ |
23 บาท
ปริมาณ | 400 ml |
---|---|
ส่วนผสมพิเศษ | ไม่ระบุ |
ผ่านการฆ่าเชื้อ | ✓ |
ไม่ใส่วัตถุกันเสีย | ✓ |
52 บาท
ปริมาณ | 400 ml |
---|---|
ส่วนผสมพิเศษ | ไม่ระบุ |
ผ่านการฆ่าเชื้อ | ✓ |
ไม่ใส่วัตถุกันเสีย | ✓ |
25 บาท
ปริมาณ | 400 ml |
---|---|
ส่วนผสมพิเศษ | น้ำกระเทียมดอง |
ผ่านการฆ่าเชื้อ | ✓ |
ไม่ใส่วัตถุกันเสีย | ✓ |
35 บาท
ปริมาณ | 350 ml |
---|---|
ส่วนผสมพิเศษ | น้ำกระเทียมดอง |
ผ่านการฆ่าเชื้อ | ✓ |
ไม่ใส่วัตถุกันเสีย | ✓ |
53 บาท
ปริมาณ | 400 ml |
---|---|
ส่วนผสมพิเศษ | ไม่ระบุ |
ผ่านการฆ่าเชื้อ | ✓ |
ไม่ใส่วัตถุกันเสีย | ✓ |
รูปสินค้า | 1 ![]() แม่อิพิม | 2 ![]() แซ่บไมค์ | 3 ![]() แม่บุญล้ำเจ้าเก่า | 4 ![]() ปลาร้านางฟ้า | 5 ![]() แม่เหรียญ | 6 ![]() MUM | 7 ![]() Tip | 8 ![]() สุนารี | 9 ![]() อีสานพาสวบ | 10 ![]() Zeon |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสินค้า | น้ำปลาร้าต้มสุก ปรุงรส | น้ำปลาร้า สูตรส้มตำ | น้ำปลาร้าต้มสุกปรุงรส สูตรปรุงสำเร็จ | น้ำปลาร้า | ปลาร้าส้มตำปรุงสำเร็จ | น้ำปลาร้า | น้ำปลาร้าปรุงรสพาสเจอร์ไรส์ | น้ำปลาร้าปรุงรส | น้ำปลาร้าปรุงรสสำเร็จ | น้ำปลาร้าปรุงรส สูตรดั้งเดิม |
คุณสมบัติ | ใส่ในส้มตำ ยำต่าง ๆ ให้รสนัว แซ่บถึงใจ รับประทานง่าย อร่อย | หอมกลิ่นปลาร้าแท้ ๆ ทำอาหารได้หลายเมนู รับประทานง่าย | ใช้ปลาร้า 92% สูตรพิเศษ ทำได้ทั้งอาหารอีสานและอาหารเหนือ | ครบรสแซ่บนัว ความเข้มข้นถึงใจ ไม่คาว สายปลาร้าห้ามพลาด | ผ่านกระบวนการหมักเป็นระยะเวลานาน รสชาติ กลิ่น สีจึงเข้มข้น | ผสมกะปิและน้ำกระเทียมดองเพิ่มรสชาติ รสนัว ขวดใช้งานง่าย | แซ่บนัวได้โดยไม่ทำร้ายสุขภาพ สะอาด ปลอดภัย รสชาติอร่อย | ใช้ปลาน้ำจืดและปลากระดี่ กลิ่นหอม รสกลมกล่อม รับประทานง่าย | หมักจากปลาทะเล ใช้ปลากระตักผสมกะปิ ให้กลิ่นและรสเข้มข้น | น้ำปลาร้าคีโตรสนัว ใช้ส่วนผสมเกลือหิมาลัย ไม่มีผงชูรส อร่อย |
ราคา | 53 บาท | 35 บาท | 25 บาท | 52 บาท | 23 บาท | 35 บาท | 119 บาท | 35 บาท | 100 บาท | 69 บาท |
ปริมาณ | 400 ml | 350 ml | 400 ml | 400 ml | 400 ml | 350 ml | 300 ml | 350 ml | 350 ml x 3 ขวด | 200 ml |
ส่วนผสมพิเศษ | ไม่ระบุ | น้ำกระเทียมดอง | น้ำกระเทียมดอง | ไม่ระบุ | ไม่ระบุ | กะปิ น้ำกระเทียมดอง | เกลือหิมาลัย สตีเวีย | ปลากระดี่ | กะปิ | เกลือหิมาลัย |
ผ่านการฆ่าเชื้อ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ไม่ใส่วัตถุกันเสีย | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ลิงค์สินค้า |
หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับปลาร้าและวิธีการเลือกซื้อน้ำปลาร้าแล้ว บางคนก็อาจจะตัดสินใจได้แล้วว่าจะเลือกน้ำปลาร้ายี่ห้อไหน โดยดูจากรีวิว 10 อันดับ น้ำปลาร้า ที่เราได้แนะนำประกอบด้วย ถึงแม้ว่าน้ำปลาร้าจะให้รสชาติอร่อยที่ใคร ๆ ยากจะอดใจไหว แต่ก็อย่าลืมว่าเป็นเครื่องปรุงรสที่ผ่านกระบวนการหมักและใช้เกลือที่มีความเค็มและปริมาณโซเดียมสูง จึงควรระมัดระวังไม่รับประทานมากจนเกินไป
อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเมื่อเราใช้น้ำปลาร้าปรุงอาหารคือ กลิ่นและสีของน้ำปลาร้า เพราะน้ำปลาร้าที่ดีไม่ควรมีกลิ่นเหม็นเน่าหรือกลิ่นคาวปลารุนแรงจนกลบกลิ่นหอมธรรมชาติของปลาร้าที่ควรจะมี อีกทั้งสีที่ได้ไม่ควรจะดำคล้ำมากจนเกินไป หากมีสีคล้ำและกลิ่นเหม็นมากก็อาจบ่งบอกได้ว่าน้ำปลาร้านั้นไม่มีมาตรฐาน ก่อนนำไปปรุงอาหารทุกครั้งควรสังเกตสีและกลิ่นเสมอด้วยค่ะ
ของใช้ในบ้าน
เครื่องใช้ไฟฟ้า, PC, กล้อง
เครื่องสำอาง, สกินแคร์
อาหาร, เครื่องดื่ม
เครื่องใช้ในครัว
แฟชั่น
รองเท้า
นาฬิกา, เครื่องประดับ
เด็ก
เฟอร์นิเจอร์
งานอดิเรก
กิจกรรมกลางแจ้ง
DIY, อุปกรณ์
กีฬา
สัตว์เลี้ยง
หนังสือ, CDs, DVDs
เกม
รถยนต์, รถจักรยานยนต์
ของขวัญ
อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน, รีโนเวท
สมาร์ทโฟน, มือถือ
เครือข่ายมือถือ
การลงทุน
เครดิตการ์ด, การกู้ยืม
ประกัน
เพลง
แอปพลิเคชัน