mybest
ยาทาเชื้อรา

ให้ทุกการเลือกเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

ปิด
  1. TOP
  2. สุขภาพ
  3. ยา
  4. 10 ยาทาเชื้อรา ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 รักษากลากเกลื้อน เชื้อราที่เล็บ ช่องคลอด
  • 10 ยาทาเชื้อรา ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 รักษากลากเกลื้อน เชื้อราที่เล็บ ช่องคลอด 1
  • 10 ยาทาเชื้อรา ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 รักษากลากเกลื้อน เชื้อราที่เล็บ ช่องคลอด 2
  • 10 ยาทาเชื้อรา ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 รักษากลากเกลื้อน เชื้อราที่เล็บ ช่องคลอด 3
  • 10 ยาทาเชื้อรา ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 รักษากลากเกลื้อน เชื้อราที่เล็บ ช่องคลอด 4
  • 10 ยาทาเชื้อรา ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 รักษากลากเกลื้อน เชื้อราที่เล็บ ช่องคลอด 5

10 ยาทาเชื้อรา ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 รักษากลากเกลื้อน เชื้อราที่เล็บ ช่องคลอด

อาการคันตามผิวหนังโดยส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อรา ซึ่งการติดเชื้อดังกล่าวมักเกิดที่บริเวณผิวหนังชั้นนอก โดยสาเหตุมาจากการสัมผัสเชื้อราที่อยู่กับสัตว์เลี้ยง เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าหรือสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นโรคเชื้อราโดยตรง สำหรับผู้ที่เกิดอาการคันเนื่องจากการติดเชื้อราไปแล้ว ก็สามารถใช้ยาทาภายนอกเพื่อบรรเทาอาการได้ 

ยาทาเชื้อราที่เป็นยาใช้ภายนอกมีอยู่หลายกลุ่มด้วยกัน ทั้งแบบครีม, โลชั่น, ยาน้ำ, ขี้ผึ้งและเจล ประกอบด้วยตัวยาสำคัญหลากหลายชนิด ในบทความนี้เราจึงได้รวบรวมข้อมูลวิธีการเลือกยาทาเชื้อราพร้อมคำแนะนำจากเภสัชกรเพื่อให้คุณเลือกซื้อยาทาเชื้อราได้อย่างถูกต้อง และยังมี 10 ยาทาเชื้อราที่มีประสิทธิภาพสำหรับการรักษาอาการเบื้องต้นมาฝากกันด้วย

อัปเดตล่าสุดเมื่อ 16/05/2023
ภญ.อรณิชา วัชรเสมากุล (แพรว)
ผู้เชี่ยวชาญ
เภสัชกร
ภญ.อรณิชา วัชรเสมากุล (แพรว)

คุณแพรวจบคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีประสบการณ์การฝึกงานในด้านการวิจัยและพัฒนายาและเวชสำอางในโรงงานผลิตชั้นนำ รวมถึงการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาในหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค หลังจากเรียนจบได้ทำงานเป็นเภสัชกรประจำสถานพยาบาลอยู่ระยะหนึ่ง แต่ด้วยความสนใจในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและชื่นชอบการให้ข้อมูลด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการ จึงเลือกที่จะมาปฏิบัติงานเป็นเภสัชกรชุมชนประจำร้านขายยาเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมแก่ผู้บริโภค เพราะส่วนตัวแล้วเชื่อว่าระบบสาธารณะสุขที่ดีจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีตามไปด้วย แต่การที่ระบบสาธารณะสุขจะดีได้นั้นจะต้องเริ่มต้นจากหน่วยปฐมภูมิที่ใกล้ชิดชุมชนที่สุดอย่างร้านขายยานั่นเอง หลังจากเป็นเภสัชกรชุมชนมากว่า 2 ปี คุณแพรวได้มีโอกาสเข้ามาบริหารและคัดเลือกผลิตภัณฑ์ยาให้กับร้านขายยา Chain Store ที่มีสาขาทั่วประเทศไทย โดยในปัจจุบันคุณแพรวดำรงตำแหน่งเป็น Pharmaceutical Retail Merchandiser (นักบริหารผลิตภัณฑ์ด้านเภสัชกรรม) ที่ทำหน้าที่บริหารและคัดเลือกยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจัดจำหน่ายในร้านขายยาชั้นนำของประเทศ

ประวัติของ ภญ.อรณิชา วัชรเสมากุล (แพรว)
…อ่านต่อ
กองบรรณาธิการ mybest
บรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ mybest

มายเบสท์ เว็บไซต์แนะนำสินค้าที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 4 ล้านคนต่อเดือน หัวใจของภารกิจของเราคือ ความมุ่งมั่นที่จะให้คำแนะนำที่น่าเชื่อถือได้ เราได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญในหมวดหมู่สินค้าที่หลากหลาย การเดินทางของเราเริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์ที่เรียบง่าย เพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคสามารถค้นหาคำแนะนำผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือได้ และใช้งานได้จริง เราเข้าใจดีว่า การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคมีความต้องการที่แตกต่างกัน นั่นเป็นเหตุผลที่เราทุ่มเทในการนำเสนอคำแนะนำที่ชัดเจน กระชับ มีการวิจัยมาเป็นอย่างดี และตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ ทีมงานของเราประกอบด้วยบรรณาธิการและผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในหมวดหมู่ต่าง ๆ เจาะลึกลงไปในผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท นำเสนอข้อมูลเชิงลึก เราเชื่อในพลังของวิธีการเลือกสินค้าที่มีข้อมูลครบถ้วน เราเป็นมากกว่าเว็บไซต์ เราเป็นชุมชนของบุคคลที่มีความกระตือรือร้นซึ่งให้ความสำคัญกับคุณภาพในการค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยทำให้โลกของการช้อปปิ้งออนไลน์เป็นประสบการณ์ที่ง่ายและสนุกสนานยิ่งขึ้นสำหรับทุกคน

ประวัติของ กองบรรณาธิการ mybest
…อ่านต่อ
ทางบริษัทมายเบสท์ไม่มีการสนับสนุนการซื้อ-ขายยาผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งผิดต่อกฏหมายประเทศไทย ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำในบทความจะเป็นเพียงจุดเชื่อมต่อให้ผู้อ่านได้เข้าไปปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนจะรับยาเพียงเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของสุขภาพผู้อ่าน
ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเฉพาะ "วิธีการเลือก" เท่านั้น สินค้าและบริการที่ปรากฏอยู่ในบทความไม่ได้ถูกเลือกโดยผู้เชี่ยวชาญ
เราไม่รับประกันผลลัพธ์หรือคุณสมบัติตามที่อธิบายไว้ในคู่มือการซื้อของเรา โปรดตรวจสอบรายละเอียดของแต่ละผลิตภัณฑ์ตามฉลากสินค้าของผู้จัดจำหน่าย

สารบัญ

เชื้อราผิวหนังเกิดจากอะไร

เชื้อราผิวหนังเกิดจากอะไร

โรคเชื้อราผิวหนังเป็นโรคทางผิวหนังที่พบได้บ่อยทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย โดยเกิดจากการติดเชื้อราซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ตามพื้นผิวต่าง ๆ ทั้งพื้นดิน ข้าวของเครื่องใช้ หรือแม้กระทั่งบนผิวหนังของมนุษย์และสัตว์ ซึ่งการติดเชื้อราที่ผิวหนังนั้น อาจติดได้จากการสัมผัสกับเชื้อราโดยตรง การสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อรา หรือเสื้อผ้าและสิ่งของต่าง ๆ ของผู้ที่ติดเชื้อรา หรือติดเชื้อราจากสัตว์เลี้ยงก็ได้ค่ะ 


การติดเชื้อรานี้จะส่งผลให้เกิดการระคายเคืองบริเวณผิวหนัง เกิดอาการคัน แดง บวม หรือเป็นผื่นขึ้น ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นที่ข้อพับ มือ เท้า เล็บ หนังศีรษะ หรือแม้แต่จุดซ่อนเร้น โดยการรักษาการติดเชื้อราในแต่ละส่วน จะมีวิธีการและระยะเวลาการรักษาที่แตกต่างกันไป

วิธีการเลือกยาทาเชื้อรา

แม้ว่ายาทาเชื้อราจะออกฤทธิ์อยู่เฉพาะผิวหนังชั้นนอกและมีผลข้างเคียงไม่ร้ายแรงนัก แต่ก่อนจะซื้อยาทาเชื้อราหากได้รู้ข้อมูลสำคัญเบื้องต้น จะช่วยให้คุณเลือกซื้อชนิดของยาได้ตรงกับอาการและสาเหตุโรค ซึ่งเป็นผลดีและป้องกันการดื้อยาได้ด้วย

1

เลือกยาทาเชื้อราให้เหมาะกับบริเวณที่ต้องการใช้งาน

บริเวณที่เกิดการติดเชื้อรานั้นมีผลต่อระยะเวลาการรักษาและการเลือกใช้ยาในการรักษา เพื่อให้การรักษาโรคเชื้อราเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรเลือกใช้ยาโดยพิจารณาจากบริเวณที่เกิดการติดเชื้อราตังต่อไปนี้

ยาทาเชื้อราที่เล็บ

ยาทาเชื้อราที่เล็บ

โรคเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) เกิดจากการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เล็บ โดยสามารถเกิดได้ทั้งในเล็บมือและเล็บเท้า โดยเฉพาะนิ้วมือหรือนิ้วเท้าที่ต้องโดนน้ำบ่อย ๆ หรือมีความอับชื้น โดยการติดเชื้อราที่เล็บเท้านั้นจะพบได้บ่อยกว่าเล็บมือ

อาการของโรคเชื้อราที่เล็บนั้น อาจพบจุดสีขาวหรือสีเหลืองบริเวณปลายเล็บ รอบเล็บบวมแดง หรือเล็บมีลักษณะหนาตัวขึ้น มีขุยหนาใต้เล็บ สีเล็บเปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงเล็บแยกตัวออกมาจากฐานเล็บ โดยโรคเชื้อราที่เล็บเป็นการติดเชื้อราที่ต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน หรืออาจเป็นปีในการรักษา แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้

ยาที่ใช้รักษาโรคเชื้อราที่เล็บมีทั้งการใช้ยาทาเฉพาะที่และการใช้ยารับประทาน ในรายที่มีอาการน้อยจนถึงอาการปานกลาง หรืออาการของโรคเป็นไม่มาก ไม่มีการลามไปที่โคนเล็บ การใช้ยาทาเฉพาะที่จะเป็นการรักษาที่เหมาะสมกว่า เพราะยากลุ่มนี้จะมีอาการไม่พึงประสงค์น้อยกว่ายาชนิดรับประทาน แต่ประสิทธิภาพการรักษาจะต่ำกว่าและใช้เวลาในการรักษานานกว่า โดยยาทามีหลายรูปแบบ เช่น ชนิดที่เป็นสารละลาย หรือชนิดที่เป็นยาทาเคลือบเล็บ ตัวอย่างตัวยาฆ่าเชื้อราที่ใช้ในการรักษา ได้แก่

 
・กลุ่มเอโซล (Azole Antifungals) เช่น ไมโคนาโซล (Miconazole), ไบโฟนาโซล (Bifonazole), ทิโอโคนาโซล (Tioconazole), อีโคนาโซล (Econazole)
・กลุ่มมอร์โฟลีน (morpholine antifungals) เช่น อะโมรอลฟีน (amorolfine)
・กลุ่มไฮดรอกซีไพริดีน (hydroxypyridine antifungals) เช่น ไซโคลพิร็อกซ์ (ciclopirox)
・กลุ่มออกซาบอรอล (oxaborole antifungals) เช่น ทาวาบอรอล (tavaborole)

ส่วนในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อราระดับปานกลางถึงรุนแรง การใช้ยารูปแบบรับประทานจะมีประสิทธิภาพสูงกว่ายาชนิดที่ใช้ภายนอกและใช้เวลารักษาสั้นกว่า แต่มีผลไม่พึงประสงค์มากกว่า โดยยากลุ่มนี้ ได้แก่


・กลุ่มอัลลิลามีน (Allylamine Antifungals) ได้แก่ เทอร์บินาฟีน (Terbinafine)
・กลุ่มเอโซล (Azole Antifungals) เช่น ไอทราโคนาโซล (Itraconazole) และฟลูโคนาโซล (fluconazole)
・กริซีโอฟูลวิน (Griseofulvin)


ทั้งนี้ การใช้ยาชนิดรับประทานร่วมกับยาชนิดที่ใช้ภายนอกอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การใช้ยารักษาโรคเชื้อราที่เล็บ อาจต้องใช้อย่างต่อเนื่องหรือใช้แบบเว้นระยะ โดยมีช่วงที่หยุดยาขึ้นกับยาแต่ละชนิด และแม้แต่เล็บมือหรือเล็บเท้าเองก็มีระยะเวลาการรับประทานยาที่แตกต่างกัน ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาโรค และลดอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น

ยาทาเชื้อราในร่มผ้าและช่องคลอด

ยาทาเชื้อราในร่มผ้าและช่องคลอด

การติดเชื้อราในร่มผ้าเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย ทั้งบริเวณอวัยวะเพศและขาหนีบ เนื่องจากบริเวณนี้มักอับชื้นจากเหงื่อที่ส่งผลให้เชื้อราเติบโตได้ดี จนเกิดการติดเชื้อขึ้น

การติดเชื้อราบริเวณขาหนีบ อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าสังคัง (Tinea Cruris) เกิดจากเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophyte) ผู้ป่วยอาจเกิดผื่นแดงอักเสบ เป็นขุย และคันตามบริเวณขาหนีบ อวัยวะเพศ หรือบริเวณต้นขาด้านใน ส่วนการติดเชื้อราบริเวณอวัยวะเพศหญิง หรือที่เรียกว่าการติดเชื้อราในช่องคลอด มักเกิดจากเชื้อรากลุ่มแคนดิดา (Candida) โดยผู้ป่วยอาจมีอาการบวมบริเวณอวัยวะเพศ รู้สึกแสบร้อนขณะมีเพศสัมพันธ์หรือปัสสาวะ มีผื่นแดงบริเวณอวัยวะเพศ มีตกขาวเป็นสีขาวครีมข้น ไม่มีกลิ่น บางครั้งอาจมีลักษณะเป็นน้ำได้

ยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อราบริเวณขาหนีบหรือสังคังมีทั้งยารูปแบบรับประทานและใช้ภายนอก ยาใช้ภายนอกที่ใช้รักษาสังคังส่วนใหญ่ที่นิยมใช้มักจะเป็นยารูปแบบครีม โดยแนะนำให้ทายาบาง ๆ วันละ 1 - 2 ครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 2 - 4 สัปดาห์ ตัวอย่างยาเช่น ยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole), ยาไมโคนาโซล (Miconazole), ยาอีโคนาโซล (Econazole), ยาโคลไตรมาโซล (Clotrimazole), ยาเทอร์บินาฟีน (Terbinafine) เป็นต้น

ส่วนยารูปแบบรับประทาน จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อราเป็นบริเวณกว้าง หรือไม่ตอบสนองต่อยาใช้ภายนอก เนื่องจากเป็นยาที่มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก และใช้ระยะเวลาในการรักษาแตกต่างกัน ตัวอย่างยาเช่น ไอทราโคนาโซล (Itraconazole), ฟลูโคนาโซล (Fluconazole) เป็นต้น

สำหรับยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อราบริเวณอวัยวะเพศหรือช่องคลอดก็จะมีทั้งรูปแบบรับประทานและแบบใช้ภายนอกเช่นเดียวกัน โดยรูปแบบของยาใช้ภายนอกอาจจะมีทั้งยาทาแบบครีม ขี้ผึ้ง หรือยาเหน็บ ต้วอย่างยาที่ใช้ในการรักษา เช่น ยาคลอไตรมาโซล (Clotrimazole), ยาไมโคโนโซล (Miconazole), ยาไทโอโคนาโซล (Tioconazole) และยาฟลูโคนาโซล (Fluconazole) ซึ่งระยะเวลาการใช้ยาและวิธีการใช้ยาจะแตกต่างกันไปขึ้นกับตัวยาและรูปแบบของยา ดังนั้นในการเลือกใช้ยารักษาเชื้อราในร่มผ้าและช่องคลอด ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนเสมอ

ยาทาเชื้อราบนหนังศีรษะ

ยาทาเชื้อราบนหนังศีรษะ

เชื้อราบนหนังศีรษะ (Tinea Capitis) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชันนะตุ เกิดจากการติดเชื้อราชนิดเดียวกันกับโรคกลากที่ชื่อว่าเดอมาโทไฟต์ (Dermatophytes) ผู้ป่วยมักมีอาการคันศีรษะ หนังศีรษะตกสะเก็ด ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ หรือมีตุ่มหนองกดเจ็บ

โรคชันนะตุรักษาได้ด้วยการรับประทานยาฆ่าเชื้อรา ตัวอย่างยา เช่น กริซีโอฟูลวิน (Griseofulvin) และเทอร์บินาฟีน (Terbinafine) ซึ่งต้องรับประทานเป็นเวลาประมาณ 4 - 6 สัปดาห์

นอกเหนือจากยารับประทานแล้ว การรักษาชันนะตุจะใช้แชมพูสำหรับกำจัดเชื้อราร่วมด้วย แทนการใช้ยาทา เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีเส้นผมค่อนข้างมาก ไม่เหมาะกับการใช้ยารูปแบบครีม แชมพูยาจะช่วยขจัดสปอร์ของเชื้อรา และเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปยังผิวหนังบริเวณอื่น โดยแชมพูขจัดเชื้อราจะมีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อรา อย่างคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) หรือซีลีเนียมซัลไฟด์ (Selenium Sulfide) วิธีใช้คือสระและฟอกแชมพูทิ้งไว้ 5 - 10 นาทีแล้วล้างออก สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1 เดือน หรือตามแพทย์สั่ง

ยาทาเชื้อราผิวหนังบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย

ยาทาเชื้อราผิวหนังบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย
นอกเหนือเชื้อราบริเวณที่กล่าวมาแล้ว การติดเชื้อราที่ผิวหนังสามารถเกิดกับผิวหนังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ เช่น บริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา แผ่นหลัง หรือตามลำตัว โดยยาที่ใช้มีทั้งยารูปแบบรับประทานและใช้ภายนอก ซึ่งยาใช้ภายนอกที่ใช้รักษา เช่น ยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole), ยาไมโคนาโซล (Miconazole), ยาอีโคนาโซล (Econazole), ยาโคลไตรมาโซล (Clotrimazole), ยาเทอร์บินาฟีน (Terbinafine) เป็นต้น

ทั้งนี้ หากผิวหนังมีการติดเชื้อราในบริเวณกว้างหรือมีขนปกคลุม การใช้ยารูปแบบน้ำจะเหมาะสมกว่ายาครีม แต่หากเป็นบริเวณที่ผิวหนังหนา การใช้ยารูปแบบครีมหรือขี้ผึ้งจะมีความเหมาะสมกว่าค่ะ
2

เลือกยาทาเชื้อราสำหรับทารกโดยเฉพาะ

เลือกยาทาเชื้อราสำหรับทารกโดยเฉพาะ

ผื่นผ้าอ้อม (Diaper Dermatitis) มักจะเกิดจากเชื้อแคนดิดา (Candida Albicans) ปัจจัยกระตุ้นสำคัญเกิดจากการสัมผัสปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเวลานาน จนผิวหนังเกิดความอับชื้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด-ด่างของผิวหนัง ร่วมกับสารระคายเคืองต่าง ๆ ในอุจจาระ อีกทั้งหากมีการเสียดสี ก็จะทำให้เกิดผิวหนังอักเสบแดง เป็นแผล และก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราแทรกซ้อนได้ ซึ่งหากทารกมีอาการดังกล่าวสามารถทาครีมต้านการอักเสบแบบชนิดตัวยาอ่อน แต่หากอาการไม่รุนแรงมากนักให้รักษาความสะอาด เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยครั้งและใช้โลชั่นสำหรับทาเคลือบผิว จะช่วยป้องกันการเสียดสีของผิวและลดการอับชื้นได้


อย่างไรก็ตาม ถ้ารักษาแล้วไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน จำเป็นต้องระวังการเกิดติดเชื้อแทรกซ้อนทั้งแบคทีเรียหรือเชื้อรา รวมถึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป


นอกเหนือจากผื่นผ้าอ้อมแล้วนั้น เชื้อราในเด็กทารกที่มักพบได้บ่อย ได้แก่ เชื้อราที่ช่องปาก โดยเชื้อราจะเจริญเติบโตจากโคนลิ้นไปทางด้านหน้า และอาจเห็นเป็นแผ่นสีขาวขนาดใหญ่บนลิ้นหรือในกระพุ้งแก้ม โดยมีฝ้าขาวในบริเวณช่องปาก มีรอยด่างขาวเหมือนเปื้อนน้ำนมแต่ไม่สามารถเช็ดออกได้ หรือเกิดรอยแตกที่มุมปาก หรือมีแผลในปากที่มักทำให้ทารกรู้สึกเจ็บและไม่ยอมดูดนม สำหรับการรักษา สามารถใช้ยาต้านเชื้อรารูปแบบยาทาหรือเจลเคลือบเยื่อบุในช่องปาก โดยหากเป็นรูปแบบยาทา จะต้องใช้ทาติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน

เชื้อราที่ช่องปากสามารถป้องกันได้ด้วยการล้างมือให้สะอาด ล้างขวดและจุกนม และของเล่นต่าง ๆ ให้สะอาด ทำความสะอาดหัวนมเป็นระยะในระหว่างการให้นม และดูแลหัวนมให้แห้งหลังป้อนนมเสร็จแล้ว อย่างไรก็ตาม หากสังเกตเห็นว่าเด็กยังคงมีอาการเชื้อราในช่องปากอยู่หลังจากใช้ยาทาปากไปแล้ว 1 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

3

เลือกยาทาเชื้อรา ไม่มีสเตียรอยด์ สำหรับผู้ที่มีผิวหนังแพ้ง่าย

เลือกยาทาเชื้อรา ไม่มีสเตียรอยด์ สำหรับผู้ที่มีผิวหนังแพ้ง่าย
สำหรับการติดเชื้อราบริเวณผิวหนัง ไม่แนะนำการใช้สเตียรอยด์ร่วมกับการรักษาการติดเชื้อราทั่วไป เนื่องจากยาสเตียรอยด์มีคุณสมบัติในการกดภูมิต้านทานของร่างกาย จึงทำให้เชื้อรายิ่งเจริญเติบโตและลุกลามได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น และยังทำให้ผิวหนังบริเวณที่ทาบางลงได้หากต้องทาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ยกเว้นการติดเชื้อราบางประเภทที่มีการอักเสบรุนแรง อาจใช้ตัวยาที่มีสเตียรอยด์ร่วมได้ แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวังและใช้เป็นเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพื่อลดอาการไม่พึงประสงค์ของสเตียรอยด์ลง โดยแนะนำว่าควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร

ก่อนเลือกใช้ยาทาฆ่าเชื้อรา หากสงสัยว่ามีส่วนประกอบของสเตียรอยด์หรือไม่ สามารถสังเกตจากฉลากยา หรือสอบถามเภสัชกรถึงส่วนผสมในยาทาฆ่าเชื้อราที่ต้องการใช้ก่อนเลือกซื้อ
วิธีการเลือกใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้หรือไม่ ?
ทางบริษัทมายเบสท์ไม่มีการสนับสนุนการซื้อ-ขายยาผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งผิดต่อกฏหมายประเทศไทย ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำในบทความจะเป็นเพียงจุดเชื่อมต่อให้ผู้อ่านได้เข้าไปปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนจะรับยาเพียงเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของสุขภาพผู้อ่าน
เราไม่รับประกันผลลัพธ์หรือคุณสมบัติตามที่อธิบายไว้ในคู่มือการซื้อของเรา โปรดตรวจสอบรายละเอียดของแต่ละผลิตภัณฑ์ตามฉลากสินค้าของผู้จัดจำหน่าย

10 ยาทาเชื้อรา ยี่ห้อไหนดี รักษากลากเกลื้อน เชื้อราที่เล็บ ช่องคลอด

หลังจากได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับยาทาเชื้อราแบบต่าง ๆ ไปแล้ว คราวนี้มาดูยาทาเชื้อราที่วางขายตามท้องตลาดกันว่ามียี่ห้อไหนบ้างและแต่ละยี่ห้อมีสรรพคุณในการรักษารวมไปถึงวิธีการใช้และข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง แต่สิ่งสำคัญคือ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัขกรก่อนเลือกซื้อด้วยค่ะ
สินค้า
รูปภาพ
ราคาต่ำสุด
ราคา
คะแนน

บีแพนเธน ออยเมนท์

ยาทาเชื้อรา ป้องกันผื่นผ้าอ้อม

บีแพนเธน ออยเมนท์  ยาทาเชื้อรา ป้องกันผื่นผ้าอ้อม 1

200 บาท

ราคาค่อนข้างสูง

อ่อนโยน ปกป้องผิวจากผื่นผ้าอ้อม พร้อมบำรุงด้วยโปรวิตามินบี 5

Ze-Ma Cream

ยาทาเชื้อรา แบบน้ำ แบบครีม

Ze-Ma Cream ยาทาเชื้อรา แบบน้ำ แบบครีม 1

75 บาท

ราคาค่อนข้างต่ำ

มีทั้งแบบน้ำและแบบครีม ได้รับมาตรฐานการผลิตยาตามข้อกำหนด

คาเนสเทน

ยาทาเชื้อรา ช่องคลอด

คาเนสเทน ยาทาเชื้อรา ช่องคลอด 1

189 บาท

ราคาปานกลาง

ออกฤทธิ์กว้าง ครอบคลุมทั้งโรคกลาก โรคเกลื้อน และเชื้อแคนดิดา

Fucidin

ยาทาเชื้อรา ฟูซิดิน

Fucidin ยาทาเชื้อรา ฟูซิดิน 1

125 บาท

ราคาปานกลาง

รักษาเชื้อราได้หลากหลายชนิด แก้ปัญหาสิวอักเสบมีหนองได้

Himalaya

ยาทาเชื้อรา Antiseptic Cream

Himalaya ยาทาเชื้อรา Antiseptic Cream 1

44 บาท

ราคาต่ำ

ส่วนผสมจากสมุนไพรธรรมชาติ รักษาแผลสด ผื่นแดงและเชื้อรา

Ultra U

ยาทาเชื้อรา อัลตร้ายู

Ultra U ยาทาเชื้อรา อัลตร้ายู 1

290 บาท

ราคาค่อนข้างสูง

บรรเทาอาการคัน ลดการอักเสบ ต้านเชื้อราผิวหนังและใต้ร่มผ้า

TONAF

ยาทาเชื้อรา ไม่ระคายผิว

TONAF ยาทาเชื้อรา ไม่ระคายผิว 1

90 บาท

ราคาค่อนข้างต่ำ

ไม่ระคายเคืองต่อผิว ไม่เหนียวเหนอะหนะ รักษาเชื้อราที่ผิวหนัง

Sudocream

ยาทาเชื้อรา โลชั่นเคลือบผิว

Sudocream ยาทาเชื้อรา โลชั่นเคลือบผิว 1

179 บาท

ราคาปานกลาง

สร้างเกราะป้องกันผิว อ่อนโยนต่อผิว ลดการอับชื้น ไม่ระคายเคือง

AuQuest

ยาทาเชื้อราที่เล็บ

AuQuest ยาทาเชื้อราที่เล็บ 1

84 บาท

ราคาค่อนข้างต่ำ

รักษาเชื้อรา ซ่อมแซม ฟื้นฟูเล็บ สูตรสกัดจากธรรมชาติ ปลอดภัย

Sebclair

ยาทาเชื้อรา เซ็บแคร์

Sebclair ยาทาเชื้อรา เซ็บแคร์ 1

415 บาท

ราคาสูง

ลดอาการคัน ผิวลอกเป็นขุย อ่อนโยน ปราศจากแอลกอฮอล์

หากไม่พบผลิตภัณฑ์ที่กำลังมองหา สามารถส่งคำร้องขอเพิ่มในรายการได้

บีแพนเธน ออยเมนท์ ยาทาเชื้อรา ป้องกันผื่นผ้าอ้อม

ยาทาเชื้อรา ป้องกันผื่นผ้าอ้อม 1
อ้างอิง:lazada.co.th
ราคาอ้างอิง
200 บาท
ราคาค่อนข้างสูง
ราคาอ้างอิง
200 บาท
ราคาค่อนข้างสูง

อ่อนโยน ปกป้องผิวจากผื่นผ้าอ้อม พร้อมบำรุงด้วยโปรวิตามินบี 5

บีแพนเธน ออยเมนท์ เป็นโลชั่นสำหรับใช้ทาเพื่อปกป้องผิวจากการเสียดสีของผ้าอ้อม ความอับชื้นจากการขับถ่ายและการระคายเคือง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมและผิวหนังอักเสบ สำหรับวิธีการใช้ ให้ทาบีแพนเธน ออยเมนท์ บาง ๆ ทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนผ้าอ้อม ตัวครีมจะเคลือบปกป้องและบำรุงผิวด้วยโปรวิตามิน บี5 (เด็กซ์แพนธีนอล) นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทาหัวนมหลังให้นมบุตร จะช่วยป้องกันหัวนมแห้งแตกได้ด้วยค่ะ

รายการสินค้าใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้หรือไม่ ?

Ze-Ma Creamยาทาเชื้อรา แบบน้ำ แบบครีม

ยาทาเชื้อรา แบบน้ำ แบบครีม 1
อ้างอิง:udl.co.th
ราคาอ้างอิง
75 บาท
ราคาค่อนข้างต่ำ
ราคาอ้างอิง
75 บาท
ราคาค่อนข้างต่ำ

มีทั้งแบบน้ำและแบบครีม ได้รับมาตรฐานการผลิตยาตามข้อกำหนด

ซีม่า ครีม ถือเป็นแบรนด์ที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดี เนื่องจากมีการผลิตและวางจำหน่ายมายาวนานกว่า 70 ปี ซึ่งเป็นยาสำหรับรักษาเชื้อราที่ผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็น น้ำกัดเท้า เชื้อราที่เล็บ เชื้อราในร่มผ้า รวมถึงซอกพับของร่างกาย เช่น ซอกแขน ซอกขาหนีบและซอกราวนม ในส่วนของขนาดบรรจุมีตั้งแต่ขนาดเล็ก 5 กรัม 10 กรัม และ 15 กรัม ผู้ซื้อสามารถเลือกขนาดได้ตามความเหมาะสม เพราะหากเปิดใช้งานแล้ว ไม่ควรเก็บไว้เกิน 6 เดือนค่ะ

คาเนสเทนยาทาเชื้อรา ช่องคลอด

ยาทาเชื้อรา ช่องคลอด 1
อ้างอิง:canesten.co.th
ราคาอ้างอิง
189 บาท
ราคาปานกลาง
ราคาอ้างอิง
189 บาท
ราคาปานกลาง

ออกฤทธิ์กว้าง ครอบคลุมทั้งโรคกลาก โรคเกลื้อน และเชื้อแคนดิดา

คาเนสเทน โอ.ดี.เป็นยาทาเชื้อราชนิดครีม รักษาได้ทั้งโรคกลาก โรคเกลื้อนและยับยั้งเชื้อแคนดิดา ลดอาการคัน สำหรับวิธีการใช้ยาควรทาวันละ 1 ครั้งบริเวณที่ต้องการรักษา เช่น ใต้ขาหนีบ ปากช่องคลอด หรือตามลำตัว แขน ขา โดยการทาเพียงบาง ๆ ถูให้ยาสามารถซึมเข้าสู่ใต้ผิวหนัง และเนื่องจากลักษณะของยาที่เป็นเนื้อครีม หลังจากทาแล้วไม่ควรโดนน้ำทันที ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่กำหนดหรือตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดค่ะ

Fucidinยาทาเชื้อรา ฟูซิดิน

ยาทาเชื้อรา ฟูซิดิน 1
อ้างอิง:shopee.co.th
ราคาอ้างอิง
125 บาท
ราคาปานกลาง
ราคาอ้างอิง
125 บาท
ราคาปานกลาง

รักษาเชื้อราได้หลากหลายชนิด แก้ปัญหาสิวอักเสบมีหนองได้

สำหรับ Fucidin Cream เป็นยาครีมชนิดทาผิวหนังใช้รักษาเชื้อราที่ขึ้นตามร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนังอักเสบ เชื้อราที่รักแร้ ขาหนีบหรือต้นขา รวมไปถึงแผลผุพองเป็นหนอง และสิวอักเสบ เนื้อครีมมีลักษณะหนืดข้น และมีกลิ่นฉุนค่อนข้างชัดเจน มาพร้อม Fusidic acid 20 mg และสรรพคุณในการต้านเชื้อแบคทีเรียอย่างกลุ่มสแตฟฟิโลคอกไค (Staphylococci) เพียงทาวันละ 2 - 3 ครั้ง ตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของเชื้อแบคทีเรีย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนัง

Himalayaยาทาเชื้อรา Antiseptic Cream

ราคาอ้างอิง
44 บาท
ราคาต่ำ

ส่วนผสมจากสมุนไพรธรรมชาติ รักษาแผลสด ผื่นแดงและเชื้อรา

Himalaya Antiseptic Cream หลอดนี้เป็นครีมทาอเนกประสงค์ที่มีฤทธิ์ช่วยกำจัดเชื้อราอย่างอ่อนโยน เนื่องจากมีส่วนผสมของสารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ ได้แก่ ว่านหางจระเข้ อัลมอลด์ และ Indian Madder มีสรรพคุณช่วยในการลดการอักเสบของผิวหนังเนื่องจากการโดนน้ำร้อนลวก ผิวพุพองจากการโดนไฟไหม้ กลากเกลื้อนเนื่องจากเชื้อรา ลดอาการคัน ผื่นแดงตามตัว และนอกจากนี้ยังสามารถใช้รักษาแผลสดได้อีกด้วย มาในรูปแบบครีมใช้งานง่ายและยังมีราคาย่อมเยาอีกด้วยค่ะ 

Ultra Uยาทาเชื้อรา อัลตร้ายู

ราคาอ้างอิง
290 บาท
ราคาค่อนข้างสูง

บรรเทาอาการคัน ลดการอักเสบ ต้านเชื้อราผิวหนังและใต้ร่มผ้า

Ultra U เป็นครีมรักษาเชื้อราที่ผิวหนังสูตรอ่อนโยน โดยประกอบไปด้วยส่วนผสมออร์แกนิกอย่างคาโมมายล์ น้ำมันมะพร้าวบริสุทธ์ น้ำมันอาร์แกนและว่านหางจระเข้ สามารถบรรเทาอาการคัน ผดผื่น ผิวลอกเป็นขุย รวมไปถึงโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้าและสะเก็ดเงิน พร้อมบำรุงให้ผิวชุ่มชื้น ที่สำคัญ ยังผ่านการทดสอบจากแพทย์ผิวหนังแล้วว่าปลอดภัย ไร้สารอันตราย จึงสามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เลยค่ะ

TONAFยาทาเชื้อรา ไม่ระคายผิว

ยาทาเชื้อรา ไม่ระคายผิว 1
อ้างอิง:shopee.co.th
ราคาอ้างอิง
90 บาท
ราคาค่อนข้างต่ำ
ราคาอ้างอิง
90 บาท
ราคาค่อนข้างต่ำ

ไม่ระคายเคืองต่อผิว ไม่เหนียวเหนอะหนะ รักษาเชื้อราที่ผิวหนัง

ครีมโทนาฟ (TONAFF) ประกอบด้วยตัวยา Tolnaftate ลักษณะการออกฤทธิ์ของตัวยาคือ เข้าไปทำลายเชื้อราให้มีลักษณะผิดรูปร่าง และหยุดการเจริญเติบโต จึงสามารถใช้รักษาโรคเชื้อราที่เกิดกับจุดต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เชื้อราบนหนังศีรษะ น้ำกัดเท้า หรือผิวหนังทั่วร่างกายโดยเฉพาะจุดอับชื้น ซึ่งวิธีการใช้ให้ทายาบาง ๆ บริเวณรอยโรคและรอบ ๆ บริเวณที่อักเสบ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 10 วันควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเกี่ยวกับรักษาที่ถูกต้องค่ะ

Sudocreamยาทาเชื้อรา โลชั่นเคลือบผิว

ราคาอ้างอิง
179 บาท
ราคาปานกลาง

สร้างเกราะป้องกันผิว อ่อนโยนต่อผิว ลดการอับชื้น ไม่ระคายเคือง

ความอับชื้นจากการขับถ่ายของลูก และการเสียดสีของผ้าอ้อมจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว และเป็นสาเหตุของการเกิดผื่นคัน จนอาจลุกลามไปจนถึงขั้นติดเชื้อได้ ดังนั้นคุณแม่จึงต้องป้องกันสาเหตุที่จะนำไปสู่การเกิดเชื้อรา ด้วยการทาโลชั่นเคลือบผิวอย่าง Sudocrem ซึ่งเป็นโลชั่นที่ช่วยไล่น้ำเพื่อลดความอับชื้น และเคลือบผิวสร้างเกราะป้องกันลดการสัมผัส นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดการอักเสบ ลดความเจ็บปวดจากการระคายเคืองผิวด้วยค่ะ

AuQuestยาทาเชื้อราที่เล็บ

ราคาอ้างอิง
84 บาท
ราคาค่อนข้างต่ำ

รักษาเชื้อรา ซ่อมแซม ฟื้นฟูเล็บ สูตรสกัดจากธรรมชาติ ปลอดภัย

AuQuest เซรั่มรักษาเล็บ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมมาจากธรรมชาติล้วนจึงมีความปลอดภัย สามารถช่วยฟื้นฟูเล็บที่เสียหายจากการติดเชื้อรา ไม่ว่าจะเป็นเล็บเปราะบาง, เล็บขบ, เล็บหนาและเล็บแตก เมื่อทาเซรั่มที่เล็บอย่างสม่ำเสมอจะช่วยซ่อมแซมให้เล็บงอกกลับมาเป็นปกติได้เหมือนเดิม พร้อมกันนี้ยังสามารถช่วยเคลือบเล็บให้มีความแข็งแรงมากขึ้น และเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากธรรมชาติจึงสามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องค่ะ 

Sebclairยาทาเชื้อรา เซ็บแคร์

ราคาอ้างอิง
415 บาท
ราคาสูง

ลดอาการคัน ผิวลอกเป็นขุย อ่อนโยน ปราศจากแอลกอฮอล์

Sebclair หลอดนี้เป็นครีมบำรุงและต้านเชื้อราในตัว ปลอดภัยเพราะปราศจากสเตียรอยด์และแอลกอฮอล์ มาพร้อม Piroctone ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราแต่เป็นมิตรกับผิว สามารถลดอาการคันและอักเสบด้วยสารสกัดจากดอกคาโมมายล์ พร้อมบำรุงผิวที่แห้งลอกเป็นขุยให้กลับมาชุ่มชื้น แต่ในช่วงแรกหลังจากทาจะมีอาการคันเล็กน้อย และลอกเป็นขุยบริเวณที่ผิวอักเสบ จากนั้นอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น สามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่หากใช้งานแล้วอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์จะดีที่สุดค่ะ

บทส่งท้าย

ยาทาเชื้อราเป็นยาสำหรับใช้ภายนอก จึงควรต้องระมัดระวังเรื่องการใช้ยาไม่ใช้เข้าสู่ทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทางปาก ทางจมูกและทางตา และควรใช้ยาตามคำแนะนำของเภสัชกรหรือแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการดื้อยาค่ะ ทั้งนี้หากใช้ยาทาเชื้อรานานติดต่อกันเกิน 10 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยการรักษาที่ถูกต้อง และเพื่อป้องกันการกลับมาเกิดโรคซ้ำอีกครั้ง ควรรักษาสุขอนามัยอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอค่ะ

คำบรรยายสินค้าแต่ละรายการอ้างอิงจากเนื้อหาที่แสดงในเว็บไซต์ผู้ผลิต แบรนด์ และเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ
  1. TOP
  2. สุขภาพ
  3. ยา
  4. 10 ยาทาเชื้อรา ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 รักษากลากเกลื้อน เชื้อราที่เล็บ ช่องคลอด

ค้นหาตามหมวดหมู่