mybest
ฉนวนกันเสียง

ให้ทุกการเลือกเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

ปิด
  1. TOP
  2. วัสดุก่อสร้าง, เครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง
  3. ฉนวนกันความร้อน, ฉนวนกันเสียง
  4. 10 อันดับ ฉนวนกันเสียง ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 ติดเพดาน ผนัง จาก SCG, ROCKWOOL
  • 10 อันดับ ฉนวนกันเสียง ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 ติดเพดาน ผนัง จาก SCG, ROCKWOOL 1
  • 10 อันดับ ฉนวนกันเสียง ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 ติดเพดาน ผนัง จาก SCG, ROCKWOOL 2
  • 10 อันดับ ฉนวนกันเสียง ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 ติดเพดาน ผนัง จาก SCG, ROCKWOOL 3
  • 10 อันดับ ฉนวนกันเสียง ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 ติดเพดาน ผนัง จาก SCG, ROCKWOOL 4
  • 10 อันดับ ฉนวนกันเสียง ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 ติดเพดาน ผนัง จาก SCG, ROCKWOOL 5

10 อันดับ ฉนวนกันเสียง ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 ติดเพดาน ผนัง จาก SCG, ROCKWOOL

เพิ่มความเงียบสงบให้กับพื้นที่ภายในบ้านด้วยการติดฉนวนกันเสียง โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้กับถนนหรือบริเวณที่คนพลุกพล่าน ซึ่งฉนวนกันเสียงจะมีความต่างกับแผ่นซับเสียงเล็กน้อย โดยฉนวนกันเสียงมีไว้เพื่อป้องกันเสียงจากภายนอกไม่ให้เข้ามาภายในห้องจนสร้างความรำคาญให้กับผู้อยู่อาศัย ส่วนแผ่นซับเสียงจะติดตั้งไว้เพื่อสะท้อนเสียงภายในห้องให้มีความคมชัด หรือป้องกันเสียงจากภายในห้องไม่ให้เล็ดลอดออกไปข้างนอกนั่นเองค่ะ 


หากคุณต้องการติดฉนวนกันเสียงเพื่อป้องกันไม่ให้เสียงที่ไม่พึงประสงค์เข้ามาทำลายบรรยากาศการพักผ่อนของคนในบ้าน เราจะพาไปดู 10 อันดับ ฉนวนกันเสียง ซึ่งมีทั้งฉนวนกันเสียงผนัง ฉนวนกันเสียงรถยนต์ และฉนวนกันเสียงเพดาน จากยี่ห้อที่กำลังได้รับความนิยม เช่น SCG, Rockwool เป็นต้น เผื่อจะนำไปเป็นไอเดียในการเลือก พร้อมแนะนำวิธีการเลือกฉนวนกันเสียงให้ตอบโจทย์การใช้งานอีกด้วยค่ะ

อัปเดตล่าสุดเมื่อ 09/04/2023
กองบรรณาธิการ mybest
บรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ mybest

มายเบสท์ เว็บไซต์แนะนำสินค้าที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 4 ล้านคนต่อเดือน หัวใจของภารกิจของเราคือ ความมุ่งมั่นที่จะให้คำแนะนำที่น่าเชื่อถือได้ เราได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญในหมวดหมู่สินค้าที่หลากหลาย การเดินทางของเราเริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์ที่เรียบง่าย เพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคสามารถค้นหาคำแนะนำผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือได้ และใช้งานได้จริง เราเข้าใจดีว่า การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคมีความต้องการที่แตกต่างกัน นั่นเป็นเหตุผลที่เราทุ่มเทในการนำเสนอคำแนะนำที่ชัดเจน กระชับ มีการวิจัยมาเป็นอย่างดี และตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ ทีมงานของเราประกอบด้วยบรรณาธิการและผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในหมวดหมู่ต่าง ๆ เจาะลึกลงไปในผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท นำเสนอข้อมูลเชิงลึก เราเชื่อในพลังของวิธีการเลือกสินค้าที่มีข้อมูลครบถ้วน เราเป็นมากกว่าเว็บไซต์ เราเป็นชุมชนของบุคคลที่มีความกระตือรือร้นซึ่งให้ความสำคัญกับคุณภาพในการค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยทำให้โลกของการช้อปปิ้งออนไลน์เป็นประสบการณ์ที่ง่ายและสนุกสนานยิ่งขึ้นสำหรับทุกคน

ประวัติของ กองบรรณาธิการ mybest
…อ่านต่อ

สารบัญ

วิธีการเลือกฉนวนกันเสียง

ก่อนจะไปเลือกฉนวนกันเสียง ต้องสำรวจก่อนว่า บริเวณที่ต้องการติดตั้งฉนวนกันเสียงนั้นเป็นลักษณะห้องแบบใด เพราะฉนวนกันเสียงมีลักษณะเนื้อผลิตภัณฑ์ให้เลือกหลากหลาย และมีคุณสมบัติในการลดเสียงรบกวนที่แตกต่างกันค่ะ

1

เลือกฉนวนกันเสียงให้เหมาะสมกับการติดตั้ง

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาเสียงรบกวนนั้นเป็นสิ่งที่ชวนให้เสียสุขภาพจิตพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเสียงภายในตัวอาคาร เสียงจากภายนอกห้องโดยสารรถ หรือแม้แต่เสียงฝนตก ซึ่งวิธีแก้ง่าย ๆ ก็คือ การเลือกติดตั้งฉนวนกันเสียงให้เหมาะสมกับกับการใช้งาน แล้วควรเลือกฉนวนกันเสียงแบบใดจึงจะดี เรามีคำตอบมาฝากค่ะ

ฉนวนกันเสียงผนัง

ฉนวนกันเสียงผนัง

แม้วัสดุที่นำมาทำเป็นผนังบ้านจะมีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงในตัวอยู่แล้ว ซึ่งผนังที่กันเสียงได้ดีที่สุดก็คือผนังก่ออิฐมอญ ตามมาด้วยผนังคอนกรีตมวลเบา และผนังยิปซัมบอร์ด ตามลำดับ แต่บางครั้งก็ยังไม่สามารถสะท้อนเสียงรบกวนได้ทั้งหมด โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในคอนโดหรือหอพักจำเป็นต้องใช้ฉนวนกันเสียงแบบติดผนังอีกชั้นเพื่อลดเสียงที่จะผ่านเข้ามาในห้อง


ฉนวนกันเสียงผนังที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือแผ่น Acoustic Board โดยจะใช้สอดเข้าไปในช่องด้านในของการติดตั้งผนังเบา ฉนวนกันเสียงประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องติดกาวแต่ต้องปิดพื้นผนังทับอีกชั้น มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงได้ดี ส่วนใหญ่จะผลิตจาก Mineral Fiber จึงมีความปลอดภัยในการใช้งานสูงค่ะ 

ฉนวนกันเสียงหลังคา

ฉนวนกันเสียงหลังคา

สำหรับบ้านที่ใช้หลังคาเมทัลชีทเวลาที่ฝนตกจะมีเสียงดังรบกวนอย่างรุนแรง และในกรณีผู้ที่อาศัยอยู่ในหอพักชั้นล่าง ก็มักจะได้ยินเสียงของตกหล่นจากชั้นบนจนทำให้นอนสะดุ้งตื่นอยู่บ่อยครั้ง การติดตั้งฉนวนกันเสียงหลังคาที่ได้รับความนิยม คือ 


  • แผ่นโฟมพียู เป็นวัสดุฉนวนกันเสียงที่ใช้การซับเสียงด้วยรูพรุนและฟองอากาศที่แทรกตัวอยู่ในเนื้อวัสดุ น้ำหนักเบา ตัดแต่งและดัดโค้งให้เข้ารูปตรงตามพื้นผิวภายในตัวอาคารได้ง่าย แต่ผุกร่อนง่ายเช่นกัน

  • ฉนวนใยหิน เป็นฉนวนกันเสียงที่ทนไฟ มีจุดหลอมเหลวสูงถึง 1,000°C กันความร้อนได้ดี แต่จะไม่ค่อยทนทานต่อความชื้นเท่าใดนัก

  • ฉนวนใยแก้ว ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบแผ่นฉนวนกันความร้อน ป้องกันเสียงได้ดี นำความร้อนต่ำ แต่ไม่สามารถติดตั้งแบบเปิดเปลือยได้เพราะจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ 

ข้อดีของฉนวนกันเสียงเหล่านี้คือ มีคุณสมบัติแบบ 2 in 1 กันเสียงรบกวนได้และกันความร้อนระหว่างวัน ช่วยลดความร้อนสะสม ทำให้บ้านเย็นลงได้อีกด้วยค่ะ

ฉนวนกันเสียงรถยนต์

ฉนวนกันเสียงรถยนต์

ผู้รักการผจญภัยที่ต้องใช้ชีวิตบนรถบ้าน รวมถึงรถตู้ที่ต้องการเก็บเสียงรบกวนภายนอกห้องโดยสารก็จะมีฉนวนกันเสียงที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับรถยนต์โดยเฉพาะ โดยการลดเสียงรบกวนจากภายนอก ลดความสั่นสะเทือนภายในรถ เรียกว่า แผ่นแดมป์ ซึ่งการติดตั้งแผ่นแดมป์นี้จะต้องทำการรื้อส่วนประกอบต่าง ๆ ในห้องเครื่องภายในรถออกเพื่อติดตั้งแผ่นแดมป์ นอกจากจะป้องกันเสียงรบกวนที่เข้ามาในห้องโดยสารได้แล้ว ก็ยังช่วยให้เสียงเพลงภายในรถมีความกังวาน เร้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ 

2

ตรวจสอบค่า STC และความหนาของฉนวนกันเสียง

ตรวจสอบค่า STC และความหนาของฉนวนกันเสียง

สำหรับค่า STC (Sound Transmission Class) เป็นตัวชี้วัดที่จะบ่งบอกว่าแผ่นฉนวนกันเสียงที่คุณเลือกใช้นั้นมีคุณสมบัติในการกันเสียงมากน้อยแค่ไหน หรือเป็นค่าต้านทานการผ่านของเสียง ยิ่งฉนวนกันเสียงที่เลือกใช้มีค่า STC มาก ก็หมายความว่ามีคุณสมบัติในการกันเสียงได้สูงกว่าฉนวนที่มีค่า STC น้อยค่ะ


  • ค่า STC 40 - 50 ป้องกันเสียงดังจากภายนอกได้ดี แต่อาจจะได้ยินบ้างเล็กน้อย เหมาะกับการใช้เป็นฉนวนกันเสียงในห้องประชุม
  • ค่า STC 60 - 70 เหมาะกับการติดตั้งในห้องนอนหรือพื้นที่โซนพักผ่อน ช่วยทำให้ห้องเงียบสงบปราศจากเสียงรบกวนได้อย่างดี 

ฉนวนกันเสียงที่มีความหนาย่อมมีคุณสมบัติในการซับเสียง และป้องกันการส่งผ่านของคลื่นเสียงได้ดีกว่าฉนวนชนิดบาง แต่การใช้แผ่นฉนวนกันเสียงที่มีความหนามากก็ทำให้พื้นที่ภายในห้องกับแคบลงได้เช่นกันค่ะ 

3

เลือกฉนวนกันเสียงที่ไม่ลามไฟ ปลอดภัยต่อระบบหายใจและสิ่งแวดล้อม

เลือกฉนวนกันเสียงที่ไม่ลามไฟ ปลอดภัยต่อระบบหายใจและสิ่งแวดล้อม

ฉนวนกันเสียงที่ไม่ลามไฟจะช่วยป้องกันและยับยั้งการเกิดอัคคีภัยภายในตัวอาคารบ้านเรือนได้เป็นอย่างดี เพราะฉนวนกันเสียงโดยทั่วไปมักจะมีลักษณะเป็นแผ่นหรือเส้นใยที่มีช่องว่างให้อากาศแทรกตัวอยู่ภายใน ซึ่งลักษณะการวางตัวของโครงสร้างดังกล่าวนี้จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการลามไฟได้ 


จะดีที่สุดหากเลือกติดตั้งฉนวนกันเสียงที่ไม่เกิดการวาบไฟในอุณหภูมิการเผาไหม้ปกติ และควรเป็นวัสดุที่มีความปลอดภัยต่อระบบทางเดินหายใจ ปราศจากสินแร่ใยหินหรือสารที่ระเหยได้ หากเลือกเป็นโฟมควรเป็นโฟมชนิดที่ไม่มีสารระเหยทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในบริเวณบ้านค่ะ

วิธีการเลือกใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้หรือไม่ ?

10 อันดับ ฉนวนกันเสียง ยี่ห้อไหนดี ติดเพดาน ผนัง จาก SCG, ROCKWOOL

ถ้าคุณยังเลือกไม่ถูกว่าจะใช้ฉนวนกันเสียงแบบใดจึงจะดี ลองมาดู 10 อันดับ ฉนวนกันเสียง ยี่ห้อต่อไปนี้สิคะ ซึ่งแต่ละรุ่นมาพร้อมคุณสมบัติในการลดเสียงรบกวนได้ดี และยังติดตั้งง่ายอีกด้วย หากถูกใจรุ่นใดก็สั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทันทีค่ะ
เรียงจากความนิยม
สินค้า
รูปภาพ
ราคาต่ำสุด
ราคา
คะแนน
1

SCG

ฉนวนกันเสียง รุ่น Cylence Zoundblock S050

SCG ฉนวนกันเสียง รุ่น Cylence Zoundblock S050 1

230 บาท

ราคาปานกลาง

ลดเสียงรบกวนได้ดี ติดตั้งกับผนังเบา แผ่นขนาดใหญ่ ไม่ลามไฟ

2

American Sound

ฉนวนกันเสียง

American Sound ฉนวนกันเสียง  1

179 บาท

ราคาค่อนข้างต่ำ

ลดความร้อนในห้องโดยสาร ไม่เหม็นกลิ่นกาว ไม่ทำให้แสบตา

3

MPE

ฉนวนกันเสียง

MPE  ฉนวนกันเสียง 1

1,350 บาท

ราคาสูง

ทรงนูนแบบพีระมิด ติดตั้งได้แบบไม่ต้องเจาะผนัง วัสดุทนทาน

4

Worldtech

ฉนวนกันเสียง WT-SS-3MM

Worldtech ฉนวนกันเสียง WT-SS-3MM 1

240 บาท

ราคาปานกลาง

แผ่นกะทัดรัด กาวติดได้แน่นหนา ตัดง่าย ติดตั้งมุมแคบสะดวก

5

Prosorb Acoustic

ฉนวนกันเสียง Acoustic Foam

Prosorb Acoustic ฉนวนกันเสียง Acoustic Foam 1

790 บาท

ราคาค่อนข้างสูง

ดีไซน์หกเหลี่ยม บากแนวเฉียง สวยมีมิติ ลดการสั่นพ้องได้ดี

6

SCG

ฉนวนกันเสียง ฉนวนกันความร้อน

SCG ฉนวนกันเสียง ฉนวนกันความร้อน  1

435 บาท

ราคาค่อนข้างสูง

ลดความร้อนภายในบ้าน ลดเสียงดังจากฝน ใช้งานได้ยาวนาน

7

ROCKWOOL

ฉนวนกันเสียง รุ่น Safe’n’Silent Pro 330

ROCKWOOL ฉนวนกันเสียง รุ่น Safe’n’Silent Pro 330 1

799 บาท

ราคาค่อนข้างสูง

ติดตั้งได้ทั้งผนังและฝ้า วัสดุทนไฟ ลดความเสี่ยงจากอัคคีภัย

8

FE-felt

ฉนวนกันเสียง รุ่น HEXA-S

FE-felt  ฉนวนกันเสียง รุ่น HEXA-S 1

219 บาท

ราคาปานกลาง

เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตกแต่งห้องไปในตัว ถูกใจสาย DIY

9

TNC

ฉนวนกันเสียง

TNC  ฉนวนกันเสียง  1

189 บาท

ราคาค่อนข้างต่ำ

ฉนวนแผ่นหนา น้ำหนักเบา ไม่ติดไฟง่าย ปลอดภัยต่อผิวหนัง

10

Daitex

ฉนวนกันเสียง รุ่น A1

Daitex  ฉนวนกันเสียง รุ่น A1  1

120 บาท

ราคาต่ำ

ใช้งานทนทาน ติดวอลล์เปเปอร์ทับได้ แปะง่ายด้วยกาวซิลิโคน

หากไม่พบผลิตภัณฑ์ที่กำลังมองหา สามารถส่งคำร้องขอเพิ่มในรายการได้
No.1

SCGฉนวนกันเสียง รุ่น Cylence Zoundblock S050

ฉนวนกันเสียง รุ่น Cylence Zoundblock S050 1
อ้างอิง:shopee.co.th
ราคาอ้างอิง
230 บาท
ราคาปานกลาง
ราคาอ้างอิง
230 บาท
ราคาปานกลาง

ลดเสียงรบกวนได้ดี ติดตั้งกับผนังเบา แผ่นขนาดใหญ่ ไม่ลามไฟ

ฉนวนกันเสียงของ SCG ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ติดตั้งกับผนัง ป้องกันเสียงรบกวนระหว่างห้องโดยเฉพาะ เหมาะกับการติดตั้งร่วมกับผนังเบา แต่ต้องใช้แผ่นผนังปิดทับอีกครั้ง รุ่นนี้การันตีจากผู้ใช้งานว่าสามารถลดระดับความดังของเสียงรบกวนจากภายนอกได้ไม่ต่ำกว่า 6 - 10 เดซิเบล ขนาดแผ่นใหญ่แต่น้ำหนักเบา ด้านในเป็นฉนวนไม่ลามไฟ มีพลาสติกสีดำห่อหุ้มเพื่อป้องกันความชื้นภายในผนังอีกชั้น จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการหมักหมมจากสิ่งสกปรกที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบหายใจของสมาชิกภายในบ้านค่ะ

การจัดอันดับสินค้าใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้หรือไม่ ?
No.2

American Soundฉนวนกันเสียง

ฉนวนกันเสียง  1
อ้างอิง:lazada.co.th
ราคาอ้างอิง
179 บาท
ราคาค่อนข้างต่ำ
ราคาอ้างอิง
179 บาท
ราคาค่อนข้างต่ำ

ลดความร้อนในห้องโดยสาร ไม่เหม็นกลิ่นกาว ไม่ทำให้แสบตา

สำหรับฉนวนกันเสียง American Sound จะนิยมติดตั้งที่ซุ้มล้อรถยนต์ เพื่อให้ห้องโดยสารมีความเงียบเพราะแผ่นแดมป์จะเป็นฉนวนกันเสียง ลดเสียงดังขณะที่รถวิ่งไปบนพื้นถนนได้เป็นอย่างดี รุ่นนี้มีกาวยางในตัว ติดได้แน่นหนา การันตีจากผู้ผลิตว่าต่อให้จอดรถไว้กลางแดดจัดก็ไม่ทำให้แผ่นแดมป์หลุดลอกออกมา ปราศจากกลิ่นเหม็น หรือรู้สึกแสบตาจากกาว เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีการเคลือบฟอยล์กันความร้อนอีกชั้น ความร้อนจึงไม่สะท้อนเข้ามาภายในรถ ทำให้ห้องโดยสารเย็นลงค่ะ  

No.3

MPE ฉนวนกันเสียง

ราคาอ้างอิง
1,350 บาท
ราคาสูง

ทรงนูนแบบพีระมิด ติดตั้งได้แบบไม่ต้องเจาะผนัง วัสดุทนทาน

กระบวนการขึ้นรูปของฉนวนกันเสียง MPE มีความนูนแบบพีระมิด ซึ่งจะช่วยสะท้อนคลื่นความถี่เสียงในระดับที่แตกต่างกันได้ดี ช่วยดูดซับคลื่นเสียงที่ตกกระทบ โฟมชนิดนี้มีความยืดหยุ่นในตัว สามารถติดตั้งตามส่วนโค้งเว้าและมุมแคบของพื้นผิวผนังได้ดี สามารถติดตั้งได้ด้วยกาวโดยไม่ต้องเจาะผนังหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในตัวอาคาร ด้วยลักษณะการพิมพ์ลายที่มีความสม่ำเสมอทำให้แผ่นโฟมรุ่นนี้สามารถวางต่อกันในลวดลายโฟมที่กลมกลืนกันอย่างลงตัว เนื้อโฟมมีความเหนียวทนทานต่อแมลงสัตว์กัดแทะค่ะ

No.4

Worldtechฉนวนกันเสียง WT-SS-3MM

ราคาอ้างอิง
240 บาท
ราคาปานกลาง

แผ่นกะทัดรัด กาวติดได้แน่นหนา ตัดง่าย ติดตั้งมุมแคบสะดวก

ฉนวน Worldtech เป็นฉนวนกันเสียงที่นิยมนำไปติดตั้งในรถยนต์ส่วนบุคคล เพราะแผ่นแดมป์มีขนาดกำลังดี ไม่ใหญ่เทอะทะเกินไปและค่อนข้างหนา มาพร้อมกาวในตัว สามารถลอกแล้วติดตั้งได้ตามความเหมาะสม นอกจากจะช่วยป้องกันเสียงรบกวน ลดเสียงดังของฝนบนหลังคารถได้ดีแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแอร์ให้เย็นเร็วขึ้นอีกด้วย การันตีจากผู้ใช้จริงว่า ห่อหุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์ที่ค่อนข้างหนา ไม่มีกลิ่นของกาวรบกวน และยังยึดติดกับรถได้แน่น ที่สำคัญคือตัดเพื่อติดตั้งในมุมแคบได้ง่ายค่ะ

No.5

Prosorb Acousticฉนวนกันเสียง Acoustic Foam

ราคาอ้างอิง
790 บาท
ราคาค่อนข้างสูง

ดีไซน์หกเหลี่ยม บากแนวเฉียง สวยมีมิติ ลดการสั่นพ้องได้ดี

สำหรับแผ่นฉนวนกันเสียง Prosorb Acoustic จะมีการบากเฉียงบริเวณขอบทุกด้านเพื่อให้มีมิติที่ดูสวยงามทันสมัย อีกทั้งการบากแนวเฉียงลักษณะนี้ยังช่วยให้เกิดการหักเหของคลื่นเสียง ลดการสั่นพ้อง และการสั่นสะเทือนของเสียงเบส เหมาะสำหรับใช้เป็นฉนวนป้องกันและลดเสียงภายในห้องซ้อมดนตรี แผ่นฉนวนเป็นหกเหลี่ยมเมื่อนำมาปูเรียงแผ่นจะทำให้มีโครงสร้างที่แข็งแรง ลดปัญหาการปริแตกหดตัวตามรอยต่อ แต่ฉนวนกันเสียงชนิดนี้เป็น PU Foam หรือโพลียูรีเทนโฟมที่สามารถลามไฟได้ จึงควรตรวจสอบพื้นที่ให้ดีก่อนติดตั้งค่ะ

No.6

SCGฉนวนกันเสียง ฉนวนกันความร้อน

ราคาอ้างอิง
435 บาท
ราคาค่อนข้างสูง

ลดความร้อนภายในบ้าน ลดเสียงดังจากฝน ใช้งานได้ยาวนาน

เนื่องจาก SCG Stay Cool มีไส้ด้านในเป็นใยแก้วซึ่งมีคุณสมบัติเด่นคือ มีการนำความร้อนต่ำ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันเสียงได้ดี ช่วยให้บ้านเย็นลงประมาณ 4 - 5°C และช่วยลดความดังของเสียงฝนที่ตกกระทบบนหลังคาได้ เพียงแต่เส้นใยประเภทนี้จะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองได้ง่าย ทางผู้ผลิตจึงติดตั้งแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ทั้งสองด้านเพื่อสะท้อนความร้อนและป้องกันการระคายเคืองต่อผู้อยู่อาศัย แต่เมื่อผ่านระยะเวลาการใช้งานไปประมาณ 10 ปี ก็จะเริ่มยุบตัวลงและคุณสมบัติต่าง ๆ ก็จะลดลงตามไปด้วย  

No.7

ROCKWOOLฉนวนกันเสียง รุ่น Safe’n’Silent Pro 330

ราคาอ้างอิง
799 บาท
ราคาค่อนข้างสูง

ติดตั้งได้ทั้งผนังและฝ้า วัสดุทนไฟ ลดความเสี่ยงจากอัคคีภัย

ไม่ว่าจะใช้เป็นฉนวนกันเสียงติดตั้งกับผนัง หรือติดตั้งกับระบบฝ้า ฉนวนกันความร้อน ROCKWOOL ก็ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างดี เพราะเป็นฉนวนใยหินที่ผลิตจากหินภูเขาไฟ ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมใช้ติดตั้งร่วมกับผนังเบา เพราะนอกจากจะป้องกันเสียงเข้าออกได้ดีแล้ว ยังเป็นวัสดุทนไฟระดับ A1 จุดหลอมเหลวสูง และในกรณีที่เกิดอัคคีภัยยังชะลอการลามไฟได้อีกด้วย ดังนั้นฉนวนยี่ห้อนี้จึงมักถูกนำไปติดตั้งในโรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อลดเสียงรบกวนจากเครื่องจักรและเพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยค่ะ 

No.8

FE-felt ฉนวนกันเสียง รุ่น HEXA-S

ฉนวนกันเสียง รุ่น HEXA-S 1
อ้างอิง:shopee.co.th
ราคาอ้างอิง
219 บาท
ราคาปานกลาง
ราคาอ้างอิง
219 บาท
ราคาปานกลาง

เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตกแต่งห้องไปในตัว ถูกใจสาย DIY

ลดเสียงรบกวนและตกแต่งผนังไปในคราวเดียวกัน ด้วยการเลือกใช้ฉนวนกันเสียงหกเหลี่ยมจาก FE-felt ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นฉนวนกันเสียงจากขวดน้ำพลาสติกโพลิเอสเตอร์รีไซเคิล เหมาะกับผู้ที่ชอบงาน DIY โดยเลือกใช้แบบคละสี ติดได้ทั้งตามผนังและเพดานห้อง ด้านหลังของฉนวนกันเสียงมีเทปกาวในตัว เพียงแค่ลอกก็แปะติดบนผนังห้องหรือเพดานที่ผิวเรียบได้ทันที เหมาะที่จะใช้เพื่อการลดเสียงรบกวนที่มีความเข้มเสียงน้อย ทำให้เสียงที่ผ่านเข้ามาเบาลง แต่ยังคงได้ยินเสียงอยู่บ้างค่ะ 

No.9

TNC ฉนวนกันเสียง

ฉนวนกันเสียง  1
อ้างอิง:shopee.co.th
ราคาอ้างอิง
189 บาท
ราคาค่อนข้างต่ำ
ราคาอ้างอิง
189 บาท
ราคาค่อนข้างต่ำ

ฉนวนแผ่นหนา น้ำหนักเบา ไม่ติดไฟง่าย ปลอดภัยต่อผิวหนัง

วัสดุที่นำมาผลิตเป็นฉนวนกันเสียงของ TNC ก็คือ Polyethylene Microfiber โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ทดแทนฉนวนกันเสียงแบบใยหินและใยแก้ว โดยเป็นวัสดุเกรดเดียวกันกับการใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ผ่านการตรวจสอบว่าปลอดภัยต่อผิวหนังและทางเดินหายใจ สามารถติดตั้งร่วมกับฝ้าเพดาน หรือสอดเข้าด้านในของผนังเบา มาตรฐานการลามไฟเกรด B1 หรือการันตีว่าเป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟง่าย แม้จะเป็นฉนวนกันเสียงที่มีความหนาแต่ว่าน้ำหนักเบา มีความฟู สามารถกดให้พอดีกับโครงคร่าวขนาด 5 cm ได้ค่ะ

No.10

Daitex ฉนวนกันเสียง รุ่น A1

ฉนวนกันเสียง รุ่น A1  1
อ้างอิง:shopee.co.th
ราคาอ้างอิง
120 บาท
ราคาต่ำ
ราคาอ้างอิง
120 บาท
ราคาต่ำ

ใช้งานทนทาน ติดวอลล์เปเปอร์ทับได้ แปะง่ายด้วยกาวซิลิโคน

แม้วัตถุประสงค์หลักในการใช้งานฉนวนกันเสียง Daitex คือ ออกแบบมาเพื่อใช้ซับเสียงภายในห้องไม่ให้ออกไปข้างนอก แต่ในขณะเดียวกันก็มีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนกันเสียง หากติดตั้งอย่างถูกวิธีจะช่วยลดความเข้มเสียงที่ผ่านเข้ามาได้สูงสุดถึง 40 เดซิเบล สามารถติดตั้งบนผนังคอนโดหรือห้องพักได้โดยการใช้กาวซิลิโคน ถ้าต้องการให้มีความแน่นหนาไม่หลุดลอกง่ายก็สามารถใช้พุกยิงตามอีกชั้น ฉนวนรุ่นนี้ไม่ค่อยเหมาะกับงานโชว์ผิว แต่ก็ปกปิดด้วยการติดวอลล์เปเปอร์ ซึ่งถือเป็นการตกแต่งผนังไปในตัวค่ะ 

บทส่งท้าย

ไม่ว่าจะเป็นฉนวนกันเสียงหรือแผ่นซับเสียงก็สามารถใช้ลดเสียงดับรบกวนจากภายนอกได้เช่นกันค่ะ แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้แบบใดก็ตาม การกันเสียงจะมีประสิทธิภาพในการลดเสียงรบกวนได้ดีที่สุดหากมีการติดตั้งอย่างถูกวิธี และถ้าเลือกฉนวนกันเสียงประเภทที่ติดตั้งด้านนอกผนังบ้านก็ควรหมั่นทำความสะอาดและดูดฝุ่นเป็นประจำ เพราะอย่าลืมว่าวัสดุเหล่านี้มีรูพรุน หากดูแลไม่ดี จากที่จะใช้เพื่อลดเสียงรบกวนจากภายนอกก็อาจกลายเป็นแหล่งหมักหมมของไรฝุ่นและสิ่งสกปรกได้ค่ะ 

TOP 5 ฉนวนกันเสียง แนะนำ

อันดับที่ 1: SCGฉนวนกันเสียง รุ่น Cylence Zoundblock S050

อันดับที่ 2: American Soundฉนวนกันเสียง

อันดับที่ 3: MPE ฉนวนกันเสียง

อันดับที่ 4: Worldtechฉนวนกันเสียง WT-SS-3MM

อันดับที่ 5: Prosorb Acousticฉนวนกันเสียง Acoustic Foam

คลิกที่นี่สำหรับการจัดอันดับ
คำบรรยายสินค้าแต่ละรายการอ้างอิงจากเนื้อหาที่แสดงในเว็บไซต์ผู้ผลิต แบรนด์ และเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ
  1. TOP
  2. วัสดุก่อสร้าง, เครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง
  3. ฉนวนกันความร้อน, ฉนวนกันเสียง
  4. 10 อันดับ ฉนวนกันเสียง ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 ติดเพดาน ผนัง จาก SCG, ROCKWOOL

บทความยอดนิยม

วัสดุก่อสร้าง, เครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง > ฉนวนกันความร้อน, ฉนวนกันเสียง >
ฉนวนกันความร้อน
วัสดุก่อสร้าง, เครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง > วัสดุปูพื้นและผนัง >
วอลเปเปอร์ติดผนัง
วัสดุก่อสร้าง, เครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง > เครื่องมือช่าง, อุปกรณ์ช่าง >
หัวเทียนเครื่องตัดหญ้า
วัสดุก่อสร้าง, เครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง > วัสดุปูพื้นและผนัง >
พื้นลามิเนต
วัสดุก่อสร้าง, เครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง > น้ำยาเฉพาะทาง >
แลคเกอร์ทาไม้
วัสดุก่อสร้าง, เครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง > เครื่องมือช่าง, อุปกรณ์ช่าง >
เครื่องวัดระดับเลเซอร์ 5 เส้น
วัสดุก่อสร้าง, เครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง > งานหลังคา >
กระเบื้องลอนคู่
วัสดุก่อสร้าง, เครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง > เครื่องมือช่าง, อุปกรณ์ช่าง >
แม่แรงกระปุก
วัสดุก่อสร้าง, เครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง > เครื่องมือช่าง, อุปกรณ์ช่าง >
สีทาไฟเบอร์ซีเมนต์
วัสดุก่อสร้าง, เครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง > เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง >
ปูนลอฟท์

ค้นหาตามหมวดหมู่